Figure of speech แปลเป็นไทยว่า ภาพพจน์

Figure of speech แปลเป็นไทยว่า ภาพพจน์

หมายถึง ถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพในใจ โดยใช้กลวิธีหรือชั้นเชิงในการเรียบเรียงถ้อยคำให้มี พลังที่จะสัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านจนเกิดความประทับใจ เกิดความเข้าใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจมากกว่าถ้อยคำที่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา
วัตถุประสงค์ของการใช้ภาพพจน์

1. เป็นการใช้ถ้อยคำที่บรรยายเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังนึกเห็นภาพ และเกิดความรู้สึกซาบซึ้งดื่มด่ำกับถ้อยคำนั้น


2. เป็นการใช้ถ้อยคำในกลวิธีการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง หรือร้อยแก้วให้มีลักษณะผิดแผกแตกต่างจากการเรียบเรียงถ้อยคำตามปกติ สำหรับสร้างสรรค์วรรณกรรมกวีมีแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในการพรรณนาให้มีลักษณะพิเศษ

Figure of speech มีหลายประเภทได้แก่

1. Simile แปลว่า คำอุปมา หรือการใช้คำเพื่อการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง ที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่นร่วมกันจะใช้คำเชื่อมที่มีความหมายว่า “เหมือน” “คล้าย” “ดุจ” “เพียง” “ดั่ง“ประหนึ่ง” “ปานประหนึ่ง” “ราวกับ” อยู่ระหว่างคำหลักและคำเปรียบเทียบ วัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด เช่น •เธอว่ายน้ำเก่งเหมือนปลา •ดำดุจน้ำหมึก

2. Metaphor แปลว่า คำอุปลักษณ์ การเปรียบเทียบด้วยการกล่าวว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำแสดงคำเปรียบเทียบว่า “เป็น” หรือ “คือ” เชื่อมอยู่ระหว่างคำหลักและคำเปรียบเทียบ ความหมายจะลึกซึ้งกว่าอุปมา เพราะเป็นการใช้คำที่มีความหมายอื่นมาแทนสิ่งที่ตนต้องการติดต่อด้วย เช่น •ลูกคือดวงตาดวงใจของพ่อแม่

3. Symbol แปลว่า คำสัญลักษณ์ คือการเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและการตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป เช่น •สีขาว แทน ความบริสุทธิ์ •หงส์ แทน ผู้สูงส่ง
•สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์

4. Metonymy แปลว่า คำนามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือ คุณสมบัติของสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาแสดงความหมายแทนสิ่งนั้นทั้งหมด เช่น •มงกุฎ หมายถึง กษัตริย์•นักการเมืองหวงเก้าอี้ (คำว่า “เก้าอี้” หมายถึง “ตำแหน่ง”)
•ปากกาเป็นอาวุธ (ปากกาคือส่วนหนึ่งของการเขียน อาจสร้างสรรค์ หรือทำลายใครก็ได้)

5. Hyperbole แปลว่า คำอติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริงหรือคำที่เปรียบเทียบเกินกว่าจะเป็นจริงได้ ซึ่งเป็นการใช้ความรู้สึกหรือความคิดของผู้กล่าวที่ต้องการย้ำความหมายให้ผู้ฟังรู้สึกว่า หนักแน่นจริงจัง ทั้งผู้กล่าวและผู้ฟังก็เข้าใจว่ามิใช่เป็นการกล่าวเท็จแต่อย่างใด เช่น •ฉันหิวไส้จะขาด •จากคำอวยพรที่เราเคยได้ยิน(กาฟิรกล่าว)บ่อยๆว่า “ขอให้มีอายุยืนถึงหมื่นปี” •จากบทประพันธ์บางตอนที่เขียนว่า "เราจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย” "เขาจะตามเธอไปจนสุดหล้าฟ้าเขียว"

6. Personification แปลว่า คำบุคลาธิษฐาน หรือบุคคลวัต
คือเป็นการเปรียบเทียบที่นำเอาความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ลักษณะกิริยาและอาการของมนุษย์ ไปใส่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิตหรือสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ให้ดูเหมือนสรรพสิ่งเหล่านั้นแสดงความรู้สึกนึกคิดและอากัปกริยาต่างได้เหมือนมนุษย์ เป็นการเขียนที่มุ่งหมายจะสร้างเรื่องราวธรรมดาให้น่าสนใจมีชีวิตชีวา และสามารถเร้าอารมณ์ได้ เช่น
•ทะเลไม่เคยหลับ •ท้องฟ้าร่ำไห้ •ใบไม้เต้นระบำ

7. Paradox แปลว่า “ปฏิทรรศน์” “ปฏิพากย์” “ปฏิภาคพจน์”
คือ การใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมาย ตรงข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าวเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความหมายที่ชัดเจน หรือเป็นการนำคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมาวางไว้ใกล้กัน ดูกันอย่างผิวเผินแล้ว จะขัดกันเองหรือไม่น่าเป็นไปได้ แต่ถ้าพิจารณาลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าเป็นไปได้ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น
• ไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ตัวเองต่ำลงได้เท่ากับวิธียกตัวเองขึ้นมา • เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง
มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว เป็นแดนเถื่อนแต่เป็นที่ไม่มีภัย อยู่ห่างไกลแต่ใกล้คุณธรรม

8.Onomatopoeia แปลว่า คำสัทพจน์ หมายถึง คำบรรยายเสียงหรือคำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ
การใช้คำประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ เหมือนซาวน์เอฟเฟคนั่นเอง เช่น
•เสียงน้ำตกกระทบหินไหลดังฉาดฉาน
•เสียงคลื่นซัดฝั่งเสียงซ่า ซ่า ทั้งคืน
•เสียงนกยูงร้องโฮกป๊ก โฮกป๊ก
•เสียงระฆังดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว

9.Oxymoron แปลว่า คำปฏิพจน์ คือ การใช้คำที่ไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีความหมายหรือความรู้สึกที่ขัดแย้ง หรือเพิ่มน้ำหนักให้แก่ความหมายของคำแรก เช่น •ชัยชนะของผู้แพ้

ข้อแตกต่างระหว่างคำปฏิพจน์และปฏิทรรศน์:
1. ปฏิพจน์เป็นลักษณะการสร้างคำหรือวลีที่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งของความหมาย (contradiction in terms)
2. สิ่งที่ทำให้ปฏิพจน์แตกต่างจากปฏิทรรศน์และความหมายขัดแย้ง (contradiction) คือตรงที่ปฏิพจน์เป็นการใช้อย่างจงใจเพื่อเพิ่มความรู้สึกหรือเห็นภาพพจน์ในวาทศิลป์โดยการสร้างความหมายใหม่โดยการผสมคำที่ตรงข้ามกัน เช่น
• ประมาณแน่นอน (accurate estimate) • ของปลอมแท้ (genuine fake) • ขยะดี (good garbage)


10. Rhetorical question แปลว่า คำถามเชิงวาทศิลป์
เป็นการตั้งคำถามแต่มิได้หวังคำตอบ หรือ ถ้าเป็นคำตอบก็เป็นคำตอบที่ทั้งผู้ถามและผู้ตอบ รู้ดีอยู่แล้ว ซึ่งใช้คำถามวาทศิลป์เพื่อเร้าอารมณ์ผู้อ่านหรือสื่อความหมาย และข้อคิดที่ต้องการแต่ถามเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือกระตุ้นให้คิดเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น
เช่น • เราจะยอมให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงต่อไปอีกหรือ?
• การที่เรายอมหลับตาเชื่อข้อความที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ โดยมิได้พิจารณาดู ความมุ่งหมายและความปรารถนาของผู้แต่งเสียก่อนนั้น จะไม่เป็นการดูหมิ่นสติปัญญาของเราเองอยู่หรือ?


11. Irony แปลว่า การแฝงนัย เป็นการพูดกระทบกระเทือน, การเขียนที่กล่าวเสียดสี, ถ้อยคำเย้ยหยัน, หรือถ้อยคำแดกดัน ความคิดที่จะเจตนาสื่อสารนั้นแตกต่างหรือตรงกันข้ามกับความหมายตามตัวอักษรของคำที่ใช้ หรือใช้คำที่เป็นการขัดกันระหว่างความเป็นจริงกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เช่น การบรรยายความทุกข์กับความสุขที่คละเคล้ากันในชีวิตว่า
“โลกโศกเศร้า...แต่พวกเขายังยิ้ม” “เจ็บปวด...แต่ไม่รวดร้าว และขื่นขม...แต่ว่าไม่ขมขื่น”


12. Denotation: แปลว่า "ความหมายตรง" หมายถึงความหมายตรงตามตัวอักษรหรือภาพ ความหมายตรงตัวตามสิ่งที่เห็นได้ทันที เช่น การหาความหมายของคำ ที่ปรากฏในพจนานุกรมถือว่าเป็น denotation หรือความหมายระดับที่หนึ่ง


13. Connotation แปลว่า "ความหมายโดยนัย" หรือ "ความหมายแฝง" หมายถึงความหมายในเชิงภาพหรืออุปมาอุปมัย เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์หรือความคิดเห็นที่ยึดถือมานาน และความสัมพันธ์ตามขนบธรรมเนียมที่เพิ่มพูนขึ้นของคำ และภาพนั้นต่างๆ ตรงข้ามกับความหมายตามตัวอักษรหรือการบ่งชี้ตรงๆของพวกมันความหมายโดยนัยนอกเหนือจากความหมายโดยตรง ไม่ปรากฎชัดเจนหากขาดข้อมูลเชิงวัฒนธรรมที่จำเป็นต่อการตีความ เป็นความหมายระดับที่สอง


14. Myth หรือ "มายาคติ" เป็นสัญญะที่ตอกย้ำถึงแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง โดยทำให้แนวคิดนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่แปลก ใครๆ ก็ทำกัน ทั้งๆ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม ไม่เคยเป็นเรื่องธรรมชาติ หากแต่เป็นเรื่องสมมุติโดยกลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งๆ ทั้งสิ้น นี่เป็นความหมายระดับสุดท้าย


15. Imagery แปลว่า ภาพในความนึกคิด (mental image), มโนภาพ, จินตนาการ หรือ จินตภาพ
หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในใจ หรือข้อคิดเห็นที่เกิดขึ้น เมื่ออ่านบทประพันธ์ร้อยกรองบทหนึ่งๆ หรืออ่านงานเขียนชิ้นหนึ่งๆ เช่น เราสามารถสร้างจินตภาพของป่าหิมพานต์ กินรี (สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง) จากวรรณคดีได้ด้วยการอ่านคำบรรยายของกวี
ส่วนคำว่า "มโนภาพ" มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "จินตภาพ" แต่มโนภาพเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป ในขณะที่จินตภาพเป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาวรรณคดี


16. Reduplication แปลว่า การซ้ำคำเป็นการนำคำที่มีเสียงเหมือนกันอาจมี ความหมายเหมือนกันหรือต่างกันมาไว้ใกล้กันเพื่อเน้นย้ำให้ได้ความหมายที่ชัดเจนหนักแน่นขึ้น ตัวอย่างเช่น
เหลืองแดงแหล่งประชาธิปไตย คือมหาวิทยาลัยของคนกล้า กล้าคิดกล้าพิสูจน์กล้าพูดจา กล้าประจันฟันฝ่าท้าอธรรม

17. Alliteration แปลว่า การเล่นเสียง เป็นการเลือกใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะหรือสระเหมือนกันเพื่อให้เกิดภาพ เกิดความรู้สึก ตลอดจนความไพเราะของเสียงสัมผัส หรืออาจเรียกว่า "การสัมผัสอักษร" ที่ใช้การสัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น
1. จําใจจําจากเจ้า จําจร (ลิลิตตะเลงพ่าย)
2. กระเทือนกระแทกร่างกระทั่งรุ่ง กระโจนฝุ่นกระจายฟุ้งกระเจิงฝอย จากฟางป่วนจากฝุ่นเปรอะจนฝนปรอย กันดารดอยเมืองกาญจน์มาเดียวกรุง
( ที่มา :ตากรุ้งเรืองโพยม : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
Alliteration is the repetition of initial consonant sounds of neighboring words.
เช่น Sally sells seashells by the seashore. “ She left the Heaven of Heroes and came down
To make a man to meet the mortal need, A man to match the mountains and the sea,
The friendly welcome of the wayside well. ” From “Lincoln, the Man of the People” ~Edwin Markham~

18. Antanaclasis แปลว่า การเล่นคำ โดยการซ้ำคำที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันสองความรู้สึก หรือการใช้คำคำเดียวในความหมายต่างกัน เพื่อทำให้รสชาติของการพรรณนาไพเราะน่าอ่านยิ่งขึ้น บางครั้งจะช่วยสร้างอารมณ์ขัน บันเทิงใจแก่ผู้อ่าน เช่น
ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลี้ยวลางลิง

(ที่มา: ลิลิตพระลอ )

Smiling

Al –salaamu ‘alaykum warahmatu allaahi wabarakatuh
The praises and the thanks is to be Allaah,the lord of universe and upon the prophet Muhammad , his family and his companions be peace and god’ mercy.
Dear my beloved friend
First of all, I really thank to Allaah that let me write this letter to you. Actually, I would love to say to you that you are the one of my beloved friends. We are as classmate and every day we have to meet each other. As we see that you are always sad, we think of you. We worry about the thing that happen to you and what make you suffocate because all the days, your face seems to be sad. Friend, life is beautiful, so brighten your day with your sweet smile. You can change the world with your smile. When we are suffering something bad, a little as you can do is to smile. Friend, all you problems and obstacle will be better ’insha’a Allaah.
As you and I are Muslim, the little things that we can do to aim relationship between us is greeting and smiling. Allaah says: When you are greeted with a greeting, greet in return with what is better than it, or (at least) return it equally. Certainly, Allah is Ever a Careful Account Taker of all things (An-Nisa, Chapter 4, Verse86,Mohsin Khan). I do believe that you can do it.
Smiling is beauty, isn’t it? We always hear that a little thing like smile can solute any problems. Smile is a small thing but it is hard of many people to do it. Smile is contact disease actually and there are wisdoms behind it.
Smile is charity as we are Muslim. If you give us a smile, means you are donating, friend. The Prophet Muhammad (peace be upon him) said: "Charity is prescribed for each descendant of Adam every day the sun rises." He was then asked: "From what do we give charity every day?" The Prophet answered: "The doors of goodness are many...enjoining good, forbidding evil, removing harm from the road, listening to the deaf, leading the blind, guiding one to the object of his need, hurrying with the strength of one's legs to one in sorrow who is asking for help, and supporting the feeble with the strength of one's arms--all of these are charity prescribed for you." He also said: "Your smile for your brother is charity." – Fiqhu As-Sunnah, Volume 3, Number 98.
Friend, your smile and cheerful face can increase and fulfill our brotherhood. Actually, the meanings behind of smile are sincere, happy and so on. If you smile to us, we can feel that you are sincere and happy to talk to each other. The Prophet Muhammad (peace be upon him) said: “Do not abuse anyone…Do not look down upon any good work, and when you speak to your brother, show him a cheerful face. ” - Sunan of Aboo-Daawod, Hadeeth 1889
Therefore, could you give your sweet smile to us please? Our relationship will be fulfilled with your smile, friend. We have already to give your sincere small from our hearts back. That why a smile is called contact disease. Your little smile and cheerful can make us happy, so I hope that you will always give a sweet smile to us Insha’a Allaah. May Allaah protects and blesses you.
The praises and the thanks is to be Allaah,the lord of universe.

Wa alsalaamu ‘alaykum.
Anas Dawor

ทำไมอิสลามจึงได้ลดค่าสตรีโดยการปกปิดความงามภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “ฮีญาบ”

บ่อยครั้งที่สถานะของสตรีมุสลิมถูกคุกคามโดยสื่อต่างๆ ในเรื่อง “ฮีญาบ” หรือ การแต่งกายตามแบบฉบับอิสลามถูกอ้างอย่างเสียๆหายๆอาทิเช่น การกล่าวหาว่าเป็นการลดเกียรติของสตรีภายใต้บทบัญญัติอิสลาม ก่อนที่เราจะมาวิเคราะห์เหตุผลในด้านศาสนาเกี่ยวกับ “ฮีญาบ” เราลองมาดูสถานะของสตรีในสังคมต่างๆก่อนที่อิสลามจะมาถึง

1. ในช่วงเวลาอดีตนั้นสตรีถูกลดเกียรติด้วยการเป็นทาสของอารมณ์ตัณหา
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นสภาพที่แท้จริงของสถานะสตรีในยุคก่อนที่อารยธรรมจะมาถึง สตรีถูกปฎิเสทสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตทั้งหมด
1-อารยธรรมบาบีโลน
สตรีมีสถานะที่ต่ำต้อยอย่างมากและถูกปฎิเสทสิทธิทั้งหมดภายใต้กฎหมายของบาบีโลน ถ้าหากผู้ชายทำร้ายผู้หญิงแทนที่ผู้ชายจะถูกลงโทษแต่ผู้หญิงกลับต้องถูกฆ่า

2-อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกถือได้ว่าเป็นอารธรรมที่มั่งคั่งและดีเยี่ยมกว่าอารยธรรมใดๆ แต่ภายใต้อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่นี้ สตรีถูกปฏิเสทสิทธิทั้งหมดและเป็นที่น่ารังเกียจดูถูกอย่างมาก ในตำนานของกรีกเชื่อกันว่ามีหญิงสาวที่ชื่อว่า พันโดรา ซึ่งเป็นสาเหตุของการนำความโชคร้ายให้แก่มนุษยชาติ สตรีเพศถูกพิจารณาเป็นมนุษย์ชั้นต่ำและ ด้อยกว่าบุรุษเพศ ถึงแม้ว่าความบริสุทธิ์ของสตรีนั้นมีค่าและเป็นที่น่ายกย่องก็ตามแต่ ต่อมาอารยธรรมกรีกถูกครอบงำด้วยความหยิ่งพยองในตัวเองและความวิปริตทางเพศ โสเพณีกลายมาเป็นกิจวัตรของชนชั้นสูงในสังคมกรีก

3. อารยธรรมโรมัน
ในขณะที่อารยธรรมโรมันถึงจุดสุดขีดของความรุ่งโรจน์นั้น ผู้ชายมีสิทธิเป็นเจ้าของชีวิตภรรยาเขาได้ อีกทั้งโสเพณีและการเปลือยกายเป็นเรื่องปกติในหมู่ชาวโรมัน

4. อารยธรรมอียิปต์
ชาวอียิปต์เก่าแก่ถือว่าผู้หญิงเป็นปีศาจและเป็นสัญญลักษ์ของปีศาจ


5. แหลมอารเบียก่อนอิสลาม
ก่อนที่อิสลามถูกเผยแพร่บนดินแดนอาหรับ ชาวอาหรับดูถูกและรังเกียจสตรีอย่างมาก และถ้าหากลูกของเขาเกิดมาเป็นผู้หญิงเขาจะฆ่าเด็กผู้หญิงนั้นด้วยการฝั่งทั้งเป็น


2. อิสลามยกย่องและให้ความเสมอภาพแก่ผู้หญิงและคาดหวังให้พวกหล่อนดำรงไว้ซึ่งสถานะของความเป็นสตรีเพศ
อิสลามได้ยกย่องและยอมรับสิทธิต่างๆของสตรีมากว่า 1400 ปีเพื่อดำรงไว้ซึ่งสถานะของ การเป็นสตรีเพศ

ฮีญาบสำหรับผู้ชาย
คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า “ฮีญาบ” นั้นเพียงแค่สำหรับสตรีเพียงฝ่ายเดียว แต่อย่างไรก็ตาม อัลกุรอานได้ระบุถึง “ฮีญาบ” ของสุภาพบุรุษมาก่อน “ฮีญาบ” ของสุภาพสตรีในซูเราะฮฺ อัน- นุร Al-Qur’an 24:30

ฮีญาบสำหรับผู้หญิง
Al-Qur’an 24:31

3. บรรทัดฐาน 6 ข้อของฮีญาบ

ตามที่ อัลกุรอาน และ ซุนนะฮฺ ได้ให้ 6 บรรทัดฐานในการใส่ฮีญาบไว้นั้นก็คือ

1. สัดส่วนของสรีระ
บรรทัดฐานแรกคือ ขอบเขตและสัดส่วนของสรีระที่ต้องปกปิด มันไม่เหมือนกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง สำหรับผู้ชายนั้นสรีระที่ต้องปกปิดคือจากสะดือลงมาถึงหัวเข่า แต่สำหรับผู้หญิงคือทุกส่วนของร่างกายยกเว้นมือกับใบหน้า แต่ถ้าหากปราถนาที่จะปกปิดทุกส่วนก็เป็นการดียิ่ง นักวิชาการบางส่วนยืนกรานว่าทั้งใบหน้าและมือ ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องปกปิดโดยเช่นกัน

และที่เหลืออีก 5 บรรทัดฐานเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้ชายและผู้หญิงที่เหมือนกัน
2. เสื้อผ้าที่ใส่จะต้องหลวมและไม่เปิดเผยสรีระ
3. เสื้อผ้าที่ใส่ต้องไม่โปร่งแสง ที่คนๆหนึ่งสามารถมองเห็นทะลุไปด้านในได้
4. เสื้อผ้าที่ใส่ต้องไม่ดึงดูดเพศตรงข้าม
5. เสื้อผ้าที่ใส่ต้องไม่เหมือนกับเพศตรงขาม
6. เสื้อผ้าที่ใส่ต้องไม่คล้ายคลึงกับคนที่ไม่ใช่มุสลิมตัวอย่างเช่น ต้องไม่ใส่เสื่อผ้าที่บ่งบอก หรือ เป็นเครื่องหมายของต่างศาสนิก

4. “ฮีญาบ” ไม่ใช่แค่เพียงเสื้อผ้าแต่มันประกอบไปด้วยการปฏิบัติและความประพฤติของผู้ใส่
“ฮีญาบ” ที่สมบูรณ์ตามแบบฉบับของอิสลามนั้นนอกจาก 6 บรรทัดฐานของเสื้อผ้าที่ใส่แล้วยังประกอบไปด้วยศีลธรรมและความประพฤติ ทัศนคติ เจตนารม ของผู้ใส่อีกด้วย “ฮีญาบ” ไม่ใช่แค่เพียงเสื้อผ้าที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า แต่มันต้องมาพร้อมกับ “ฮีญาบของสายตา” “ฮีญาบของความคิด” “ ฮีญาบของหัวใจ” และ “ฮีญาบของเจตนารม” มันยังประกอบไปด้วย ท่าทางการเดิน การพูดคุย และความประพฤติของผู้ใส่อีกด้วย



5. “ฮีญาบ” เป็นเครื่องป้องกันการคุกคามทางเพศ
เหตุผลที่ว่าทำไม “ฮีญาบ” ถึงถูกบัญญัติแก่ผู้หญิงได้ถูกกล่าวไว้ใน [Al-Qur’an 33:59]
อัลกุรอานได้กล่าวว่า “ฮีญาบ” ได้ถูกบัญญัติแก่ผู้หญิงเป็นการแสดงให้เห็นถึงควาสงบเสงี่ยมของผู้หญิงและนี้จะเป็นเครื่องป้องกันจากการถูกคุกคามทางเพศ

6. ตัวอย่างการแต่งตัวของ พี่น้องฝาแผด
สมมุติว่า มีสองสาวซึ่งเป็นฝาแฝดกัน มีความสวยเท่าๆกัน เดินบนถนน คนหนึ่งแต่งตามแบบฉบับของอิสลาม ทั้งร่างกายถูกปกปิดหมดยกเว้นใบหน้ากับมือ และอีกคนหนึ่งแต่งตัวแบบตะวันตกใส่กระโปร่งสั้นกับเสื้อเชิ้ต ในมุมหนึ่งมีนักเลงหรือ อันธพาลกำลังรอทำไม่ดีไม่ร้ายสาวๆอยู่ คุณคิดใครที่จะถูกอันธพาลพวกนั้นทำไม่ดีไม่ร้าย? คนที่ใส่ “ฮีญาบ” หรือ คนที่ใส่กระโปรงสั้น? โดยธรรมชาติแล้วพวกนักเลงเมือกี้จะสนใจคนที่ใส่กระโปรงสั้นอย่างแน่นอน เพราะการแต่งตัวอย่างนั้น เป็นการชี้นำและเชิญชวนให้เพศตรงเข้ามาคุกคามทางเพศ อัลกุรอานได้กล่าวว่า “ฮีญาบ” เป็นเครื่องป้องกันจากการถูกคุกคามทางเพศ


7. บทลงโทษอันใหญ่หลวงสำหรับผู้ที่ข่มขืนผู้อื่น
ภายใต้กฎหมายอิสลาม ผู้ที่ถูกตัดสินว่าได้กระทำการข่มขืนผู้อื่นนั้นต้องได้รับโทษอันแสนสาหัส คนมากมายตกใจกับการลงโทษอันไม่น่าดูนี้ บางก็ว่า อิสลามคือศาสนาที่โหดเหี้ยมเป็นศาสนาป่าเถื่อน ผมได้ถามผู้ชายนับร้อยคนที่ไม่ใช่มุสลิมว่า ถ้าหากพระเจ้าห้ามการข่มขืนกระทำชำเรา แต่ภรรยาของคุณ แม่ของคุณ พี่น้องสาวของคุณถูกข่มขืน แล้วคนเป็นคนตัดสิน โทษ จำเลยถูกนำตัวมาต่อหน้าคุณ คุณจะลงโทษเขาอย่างไร? ทั้งหมดตอบว่า ประหารชีวิต บางคนก็ตอบว่า ต้องทรมานจนกว่าจะตาย ผมได้ถามเขาอีกว่า ถ้าคนมาข่มขืนภรรยา แม่ น้องสาวคุณ คุณต้องการประหารชีวิตเขาใช่ไหม? แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับภรรยา ลูกสาว คนอื่นล่ะ บทลงโทษมันป่าเถื่อนไหม? ทำไมมันสองมาตฐานเช่นนี้ ?

8. สังคมตะวันตกล่มเหลวในการอ้างว่า ตนคือคนที่ยกย่องและให้สิทธิเสรีภาพแก่สตรีเพศ
ตะวันตกได้พูดถึงสิทธิเสรีภาพของสตรีอย่างกว้างขว้าง แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงข้ออ้างดีๆที่จะหาผลประโยชน์จากสรีระร่างกายของสตรี ลดเกียรติและ ลดศักศรีของสตรี สังคมตะวันตกอ้างว่า ตนยกย่องและให้สิทธิเสรีภาพแก่สตรี แต่ในทางกลับกันก็ได้ลดค่าของของผู้หญิงในสถานะ นางบำเรอ เมียน้อย และ เป็นคนๆหนึ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของความต้องการทางเพศและธุรกิจตัณหา ภายใต้ความภาคภูมิใจกับฉากที่สวยหรูที่ว่า มันคือ “ศิลปะ” และ “วัตนธรรม”

9. อเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสถิติการข่มขืนสูงที่สุด
ประเทศอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลกและอเมริกาเองก็มีสถิติการข่มขืนมากที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน จากรายงานของ FBI ในปี 1990 ทุกๆวันจะมีคดีข่มขืนกระทำชำเราถึง 1756 คดี หลังจากนั้น FBI ได้รายงานอีกว่า คดีข่มขืนได้เพิ่มขึ้นทุกๆวันเป็น 1900 คดี ถ้าลองพิจารณาดูถึงวิธีการของอิสลามโดยการใช้ “ฮีญาบ” เมือไรก็ตามที่ผู้ชายมองมาที่ผู้หญิงโดยความไม่อายใจ แต่เขากลับลดสายตาของเขาลง ผู้หญิงก็ใส่ “ฮีญาบ” ตามบัญญัติอิสลามที่ปกปิดสรีระทั้งหมด ยังจะมีผู้ชายมาข่มขืนอีกไหม? ผมถามคุณว่าวิธีการนี้ จะทำให้สถิติการข่มขืนเพิ่มขึ้น หรือ เท่าเดิม หรือ ลดลง

10. วิธีการของกฎหมายอิสลามจะลดสถิติของการข่มขืน
โดยปกติแล้ว ทันใดที่กฎหมายอิสลามถูกใช้ก็จะเห็นผลได้ชัด ถ้ายุโรปหรือเมริกาใช้กฎหมายอิสลามก็สามารถมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ “ฮีญาบ” ไม่ได้ลดค่าหรือ เกียรติ ของสตรีเพศ แต่มันกลับ ยกย่อง รักษา ป้องกัน และดำรงไว้ซึ่ง ความบริสุทธิ์ ของเหล่าสตรี
แปลและเรียบเรียงโดย : Anas Dawor
อ้างอิงจาก : Dr. Zakir Naik

ประวัติโดยย่อของท่าน อีหม่าม ฮาซัน อัล บัศรี

เชื้อสายและชาติตระกูล


ท่านคือ อบู ซาอีด อัล ฮาซัน บิน ยาซีร อัล บัศรี บิดาของท่านเป็น ชาวมัยซาน และ มารดาของท่าน คอยเราะฮฺ เป็นคนรับใช้ในบ้านของ อุมุลซาลามะฮฺ ภรรยาของท่านรอซูลุลลอฮฺ ท่านเกิดที่เมืองมาดีนะฮฺในปี 21ฮฺ แต่ใช้ชีวิตในเมืองบัศเราะฮฺ
ชีวิตในวัยเด็กและการเลี้ยงดู ท่านอีหม่าม ฮาซัน อัล บัศรี เติบโตและถูกเลี้ยงดูในบ้านของ อุมมุลซาลามะฮฺ ภรรยาของท่านนบี ซึ่งสิ่งแวดล้อมในบ้านอุมมุลซาลามะฮฺนั้นเต็มไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีทำให้ท่าน อีหม่าม ฮาซัน อัล บัศรี มีความเป็นผู้ใหญ่ทั้งในด้านบุคคลิคภาพและลักษณะนิสัยที่สมบูรณ์ เพราะท่านเติบโตและถูกเลี้ยงดูพร่ำสอนโดยบรรดาซอฮาบะฮฺ และ ตาบีอีน


บุคคลิกภาพของท่าน ท่านมีความเชียวชาญในการอธิบาย จากอบู อัมรู บิน อัล อาลาอฺ กล่าวว่า ฉันไม่เคยเห็นใครที่มีความชะชาญในอธิบายมากกว่า ฮาซัน และ จาก ฮาจจาต บิน ยูซุฟ อัล ซาฆอฟี ได้มีชายถามเขาว่า ใครมีความชะชาญในการอธิบายมากที่สุด เขาตอบว่า ฮาซัน ท่าน มีความสมธะอย่างมาก ถึงแม้ว่าท่านจะมีอาหารการกินที่ดีแต่ท่านก็ถือสิ่งอดเป็นประจำทั้งวันจันทร์ พฤหัส และ ซุนนะฮฺต่างๆ ฮากี อิบนุ ซูซาบ จาก มาตอร กล่าวว่า เราได้เข้าในบ้านของท่านฮาซัน มันไม่มีอะไรเลย นอกจากเตียงและเสื่อที่สานด้วยพืชชนิดหนึ่ง

ตำราที่ท่านเขียนคือ فضائل مكة

คำคมและปรัญชาจาก ท่าน อีหม่าม ฮาซัน อัล บัศรี


“แท้ที่จริงแล้วผู้ศรัทธานั้น ตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็พบกับความเสียใจ พอตกเย็นก็พบกับเสียใจ เพราะผู้ครัทธานั้นกลัวในสองสิ่ง สิ่งแรก คือ บาปที่เขากระทำนั้นจะมีมากเท่าใด และ สิ่งที่สอง คือ ผลบุญที่เขาทำนั้นจะเหลือซักเพียงใด”

“โอ้ ลูกหลานของอาดัมเอ่ย แท้จริงเวลาได้เดินผ่านไปเรื่อยๆเสมือนครึ่งชีวิตได้ผ่าน และถ้าหากครึ่งชีวิตได้ผ่านไปเสมือนทั้งชีวิตได้ผ่านไปด้วย และท่านศึกษาและปฎิบัติเถิด”

การเสียชีวิตของท่าน ท่านเสียชีวิตในช่วงอายุเก้าสิบปี ที่เมืองบัศเราะฮฺในปีที่ 110ฮฺ

อ้างอิง
- الأعلام، الزركلي.
- وفيات الأعيان، ابن خلّكان.
- الوافي بالوفيات، الصفدي.
- إحياء علوم الدين، الغزالي.
- حلية الأولياء، أبو نعيم.
แปลและเรียบเรียงโดย Anas Dawor

ใครคือ อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ

โดย กลุ่มอัชบาบุ้ลอิสลาม



“อัซ-ซุนนะฮ” ในภาษาอาหรับเป็นคำที่แตกออกมาจากรากศัพท์ คำว่า “ซันนะ-ยะซินนุ” และ “ยะซุนนุ-ซันนะนัน ฟะฮุวะมัซนูน”

เช่นคำว่า “ซันนัล-อัมเราะ” ซึ่งแปลว่า ทำให้เรื่องราวนั้นกระจ่าง

“อัซ-ซุนนะฮ” หมายถึงแนวทาง วิถีการใช้ชีวิต ซึ่งใช้ได้ทั้งในสิ่งที่ดี หรือเลว ฮะดีษของท่านนบี(ศ็อลฯ)ที่กล่าวถึงเรื่องนี้….

แน่นอนพวกท่านจะปฏิบัติตามแนวทางของกลุ่มชนก่อนหน้าพวกท่านทีละคืบทีละศอก(บุคอรีและ
มุสลิม)

หมายถึง แนวทางต่างๆทั้งในเรื่องศาสนา และเรื่องทางโลกของพวกเหล่านั้น และอีกฮะดีษหนึ่งคือ..

ผู้ใดกำหนดแนวทางที่ดีหนึ่งๆขึ้นมาในอิสลาม เขาย่อมได้รับผลบุญของมัน และผลบุญของผู้ที่ปฏิบัติต่อจากนั้น โดยไม่มีสิ่งใดๆจากผลบุญของเขาบกพร่องไปเลย และผู้ใดกำหนดแนวทางที่ชั่วหนึ่งๆขึ้นในอิสลาม(มุสลิม)

ซึ่งคำว่าแนวทาง ในฮะดีษดังกล่าวก็คือ วิธีการดำเนินชีวิตนั้นเอง

คำว่า “อัซ-ซุนนะฮ” ทางวิชาการ :

หมายถึงทางนำที่ท่านรอซู้ล(ศ็อลฯ) และบรรดาซอฮาบะของท่านดำรงอยู่ ทั้งในเรื่องของความรู้ หลักการยึดมั่น คำพูดการปฏิบัติ และการยอมรับ

นอกจากนี้คำว่า อัซ-ซุนนะฮยังถูกใช้เกี่ยวกับซุนนะฮทางอิบาดาต และหลักการยึดมั่นอื่นๆอีกด้วย ซึ่งคำตรงข้ามของอัซ-ซุนนะฮในที่นี้ก็คือ อัลบิดอะฮ(สิ่งอุตริ)

ท่านรอซู้ล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ใดจากพวกท่านได้มีชีวิตอยู่หลักจากฉัน แน่นอนเขาจะได้พบการแตกแยกกันอย่างมากมาย ดังนั้น พวกท่านจงยึดมั่นต่อแนวทางของฉัน และแนวทางของบรรดาเคาะรีฟะฮ ผู้ได้รับทางนำ ผู้เที่ยงธรรม(เศาะหี๊หซุนันอบีดาวูด ของอัลบานีย์)

คำว่า “อัลญะมาอะฮ” ในทางภาษา

มาจากคำว่า “ญัมอุ” หมายถึง การรวมสิ่งหนึ่งโดยการเอาแต่ล่ะส่วนเข้ามาไกล้กัน เช่นกล่าวว่า “ญะมะอตุฮู ฟัจญ์ตะมะอะ”( แปลว่า ฉันได้รวบรวมมัน ดังนั้น มันก็มารวมอยู่ด้วยกัน)

เป็นคำที่แตกออกมาจากคำว่า “อัล-อิจญ์ติมาอ”หมายถึงมนุษย์หมู่มาก หรือกลุ่มของมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่รวมตัวเข้าด้วยกัน และมีเป้าหมาย หรือจุดประสงค์เดียวกัน

ฉะนั้น อัล-ญะมาอะฮ ก็คือ กลุ่มชนที่มาร่วมเข้าอยู่ด้วยกันบนกิจการใดกิจการหนึ่ง (ดูพจนานุกรมอาหรับเล่มต่างๆเช่น ลิซานุลอะรับ มุคตารุศ –ศิหาห์ อัล-เกาะมูซุล-มุหีฏ(หมวดอักษร ญีม มีม อัยน์)

คำว่า อัล-ญะมาอะฮ ทางวิชาการ :

หมายถึงญะมาอะฮของบรรดามุสลิม พวกเขาคือบรรพชนยุคต้น(อัส-สะลัฟ) ของอุมมะฮจากเหล่าบรรดาเศาะฮาบะฮ ตาบีอีน และบรรดาผู้เจริญรอยตามแนวทางเดียวกับพวกเขาหลังจากนั้นเรื่อยไปตราบจนถึง วันกิยามะห์ พวกเขาต่างร่วมอยู่ด้วยกันในแนวทางแห่งอัล-กุรอาน และอัซ-ซุนนะฮ และดำเนินชีวิตไปตามสิ่งที่ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)เคยเป็นมาทั้งสิ่งที่เผยออกมาภายนอก และสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใน

พระองค์อัลลอฮ(ซบ)ทรงใช้ และกำชับให้ปวงบ่าวผู้ศรัทธาทั้งหลายอยู่ในสภาพของการเป็นญะมาอะฮ การรวมเข้าด้วยกัน และพึ่งพาอาศัยกัน และทรงห้ามการแตกแยกออกเป็นพรรคเป็นพวก และการทะเลาะต่อกันดั่งที่ได้ตรัสใว้ในอายะห์ที่ว่า…

และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮโดยพร้อมเพรียงกันทั้งหมด และจงอย่าแตกแยกกัน(อาลิอิมรอน 103)

และอายะห์…

และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยก และขัดแย้งกัน หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว(อาลิอิมรอน 106)

ท่านนบี(ศ็อลฯ)กล่าวว่า…

และแท้จริงศาสนานี้จะแตกแยกออกเป็น 73 จำพวก โดย 72 จำพวก นั้นอยู่ในนรก ส่วนจำพวกหนึ่งอยู่ในสวรรค์ นั้นคือ อัล-ญะมาอะฮ

(ซอหี๊หซุนันอาบีดาวูด ของอัลบานีย์)

อีกฮะดีษหนึ่งคือ…

พวกเจ้าจงยึดมั่นอัล-ญะมาอะฮ และจงระวังการแตกแยก เพราะแท้จริงชัยฎอนจะอยู่พร้อมกับผู้ที่อยู่คนเดียว และมันจะไกลกว่าจากผู้ที่อยู่ 2 คน และผู้ใดต้องการจะอยู่ตรงกลางของสวรรค์ ดังนั้น เขาจงสังกัดอยู่ในญะมาอะฮ (บันทึกโดยอีม่ามอะหมัด รับรองว่าซอหี๊ห โดยอัลบานีย์)

เศาะฮาบะฮอาวุโสคือ อับดุลลอฮ บินมัสอูด(เราะฎิฯ)กล่าวว่า…

ญะมาอะฮคือ สิ่งที่สอดคล้องกับสัจธรรม แม้นว่าท่านจะอยู่(บนสัจธรรมนั้น)เพียงลำพังก็ตาม (อัล-ลาลิกาอีย์ ในหนังสือ ชัรห์ อุศูล อิอติกอดอะฮลิซซุนนะฮ วัลญะมาอะฮ

ดังนั้นอะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ก็คือบรรดาผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในซุนนะฮของท่านนบี(ศ็อลฯ) และซุนนะฮของซอฮาบะฮ ปฏิบัติตามและเจริญรอยตามแนวทางเดียวกับพวกเขา ทั้งในเรื่องของการเชื่อมั่น คำพูด การกระทำและดำรงมั่นอยู่บนการปฏิบัติตาม(อิตบาอ) และห่างไกลจากการอุตริ(บิดอะฮ)

และพวกเขานี้เองเป็นพวกที่จะคงอยู่อย่างสง่าผ่าเผย และได้รับการช่วยเหลือ(จากอัลลอฮ) ตราบจนวันกิยามะฮ ซึ่งการปฏิบัติตามพวกเขา คือทางนำ(ฮิดายะฮ) ในขณะที่การฝ่าฝืน หรือขัดแย้งไปจากนี้ถือเป็นความหลงผิด(เฎาะลาละฮ)

อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ มีความแตกต่างจากลุ่มอื่นๆอย่างชัดเจนทั้งนี้ด้วยลักษณะ คุณสมบัติ และข้อจำแนกหลายประการด้วยกัน

1. พวกเขาคือกลุ่มชนที่ยึดถือแนวทางสายกลาง และดุลยาภาพระหว่างความเกินเลยกับความหย่อนยาน ระหว่างความคลั่งไคล้กับการถอนตัวไม่ยุ่งเกี่ยว เช่นนี้ไม่ว่าในบทที่ว่าด้วยเรื่องอะกีดะอ บทบัญญัติ(หุก่ม) หรือความประพฤติก็ตามแต่ พวกเขาอยู่ในเส้นทางสายกลางอย่างชัดเจนหากเทียบกับกลุ่มต่างๆ ของอุมมะฮอิสลาม ในขณะที่ถือว่าอุมมะฮนี้คือประชาชาติสายกลางท่ามกลางลัทธิ หรือศาสนาอื่นๆทั้งหลาย

2. พวกเขาปฏิบัติตามอัลกุรอานและอัซซุนนะฮ ให้ความสำคัญและยอมรับต่อหลักฐานที่มีมาจากแหล่างทั้งสอง และมีความเข้าใจต่อมันอย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายแห่งแนวทางของอัส-สะลัฟ

3. ในทัศนะของพวกเขาไม่ได้ยกฐานะของอิม่ามใดๆ ให้เป็นผู้ที่เลอเลิศ(หรือเป็นมะอศูม : ผู้ไร้ความผิดพลาด) หรือยกเป็นผู้ที่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม หรือต้องละทิ้งในสิ่งที่เขากล่าว(หรือตะอัศศุบ) แต่พวกเขาจะให้ความสำคัญดังกล่าวแก่ท่านรสูลุลลอฮเพียงผู้เดียวเท่านั้น และพวกเขาคือกลุ่มชนที่ทราบดีถึงสภาพการณ์ต่างๆ ตลอดถึงคำพูดและการปฏิบัติของท่านรสูลุลลอฮมากกว่าผู้ใด เหตุนี้พวกเขาจึงเป็นกลุ่มชนที่รักต่ออัซ-ซุนนะฮมากที่สุด มุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามอัซ-ซุนนะฮ และเป็นกลุ่มชนที่ให้ความเป็นมิตรต่อชาวอัซ-ซุนนะฮมากที่สุดอีกด้วย

4. พวกเขาละทิ้งการเป็นปรปักษ์กันใน(ข้อขัดแย้งทาง)ศาสนา แต่จะให้ความสนิทไกล้ชิดกับพี่น้องร่วมศาสนาทุกฝ่าย และไม่ทะเลาะโต้เถียงกันในปัญหาหะลาล-หะรอม แต่พวกเขาจะพยายามปฏิบัติตนให้อยู่ในอิสลามในทั้งหมด

5. พวกเขาให้ความสำคัญต่อชนยุคสะละฟุศศอและห์ และศรัทธามั่นว่าแนวทางของยุคสะลัฟเท่านั้นที่ปลอดภัย รู้จริงและพึงเชื่อถือมากที่สุด

6. พวกเขาไม่ใช้วิธีการตะอวีล(การตีความหมายเอาเอง) แต่พวกเขาจะยอมรับและจำนนต่อสิ่งที่มีอยู่ในบัญญัติ และถือว่าหลักฐาน(อัก-นักดุ)นั่นย่อมดี และเหนือกว่าการใช้ปัญญา(อัล-อักลุ)อย่างแน่นอน

7. ในปัญหาหนึ่งๆ พวกเขาจะพยายามรวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ เอาใว้อย่างมากมาย และยื่นเสนอส่วนที่คลางแคลงสงสัยนั้นต่อให้แก่ศาลอิสลามเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด (คือไม่สรุปด้วยความคิดตนเอง)

8. พวกเขาคือแบบอย่างของบรรดาคนดี(ศอและห์)ทั้งหลาย เป็นผู้ที่ได้รับทางนำสู่ความจริง โดยปราศจากความอ่อนไหว (ต่อภาวะใดๆ) และพวกเขาจะเห็นพ้องกันในกรณีสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องอะกีดะอ มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทั้งด้านความรู้ และการอิบาดะฮ มีทั้งการ ตะวักกัล(มอบหมาย) ต่ออัลลอฮ และการอาศัยสาเหตุ(อัสบาบ)มีความคิดทั้งให้แสวงความสุขสบายในดุนยา และการทำตนให้สมถะในเวลาเดียวกัน เป็นบุคคลที่มีทั้งความหวาดกลัว และความมุ่งหวัง ความรักและความเกลียดชัง มีความเมตตา อ่อนโยน ความจริงจัง หรือความเคร่งครัด และพวกเขาจะไม่แตกแยก หรือขัดแย้งกัน แม้จะอยู่ต่างสมัย หรือต่างสถานที่กันก็ตาม

9. พวกเขาจะไม่กล่าวอ้างชื่ออันใดนอกจากอัล-อิสลามอัซ-ซุนนะฮและอัล- ญะมาอะฮ (เช่นไม่อ้างแนวทางใดนอกจากนี้)

10. พวกเขาจะมุ่งมั่นต่อการเผยแผ่อะกีดะอที่ถูกต้อง ศาสนาอันเที่ยงธรรม

และพยายามสั่งสอนตักเตือน และให้ความสำคัญต่อกิจการงานต่างๆ

ของผู้คนทั้งหลาย

11.พวกเขาเป็นมุนุษย์ที่มีความอดทนหรือยืนหยัดที่สุดต่อคำพูดความน่าเชื่อถือ ศรัทธาและการดะวะฮ(เชิญชวน)ของตนเอง

12.พวกเขามุ่งมั่นต่อการเป็นญะมาอะฮ ความสมานฉันท์ และการเรียกร้อง เร่งเร้าผู้คนให้มีสิ่งดังกล่าวนี้ พร้อมยับยั้งและตักเตือนผู้คนจากการแตกแยกและการแบ่งพรรคแบ่งพวก

13.เป็นพวกที่อัลลอฮทรงปกป้องมิให้มีการกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นกาฟิร แต่จะที่ตัดสินต่อบุคคลอื่นด้วยความยุติธรรมเสมอ

14.พวกเขามีความรักใคร่เมตตาต่อกัน ให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และพวกเขาจะไม่แสดงออกซึ่งความเป็นมิตร หรือศัตรู(ด้วยพื้นฐานอื่นใด)นอกจากบนพื้นฐานของศาสนาเท่านั้น

โดยภาพรวมแล้วพวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีมารยาทดีเลิศที่สุด มีความมุ่งมั่นต่อการขัดเกลาตนเอง ด้วยการฏออะฮต่ออัลลอฮ เป็นผู้ที่มีวิศัยทัศน์ และแนวคิดที่กว้างไกล มีจิตใจที่เปิดกว้างที่สุดต่อความคิดที่แตกต่าง พร้อมมีความรู้อย่างลึกซึ้งที่สุดต่อมารยาท และหลักเกณ์ของการขัดแย้ง(คิลาฟ)

สรุปคำนิยามคำว่า อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ได้ดังนี้ คือเป็นกลุ่มชนที่ท่านนบี(ศ็อลฯ) สัญญาว่าจะได้รับความสำเร็จเหนือท่ามกลางกลุ่มชนอื่นๆ ทั้งนี้ด้วยคุณลักษณะอันเคร่งครัดในอัซซุนนะฮ และการปฏิบัติที่สอดคล้องตรงกับสิ่งที่มีมาจากซุนนะฮของท่านรสูลุลลอฮ ทั้งในเรื่องอะกีดะอ ข้อชี้นำ ลักษณะการใช้ชีวิต จรรยามารยาท และการอยู่ร่วมกันเป็นญะมาอะฮ

เหตุนี้คำนิยามของอะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ จึงไม่แตกต่างกันเลยจากคำนิยามของ อัส-สะลัฟ ดังที่เราทราบแล้วว่า อัส-สะลัฟ ก็คือ บรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามกีตาบุลลอฮ และยึดมั่นต่ออัซ-ซุนนะฮ ดังนั้นอัส-สะลัฟ พวกเขาก็คือ อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮที่ท่านนบี(ศ็อลฯ)หมายถึง และเช่นเดียวกัน อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ก็คือ อัส-สะละฟุศศอและห์ และผู้ที่เจริญรอยตามแนวทางดังกล่าว

นี่คือความหมายที่เจาะจงที่สุดของคำว่า “อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ” ส่วนพวกบิดอะฮ และพวกยึดถือตามอารมณ์กลุ่มอื่นๆ เช่นพวกเคาะวาริจญ ญะฮมีญะฮ, มุรญีอะฮ, ชีอะ, และพวกบิดอะฮกลุ่มต่างๆจะไม่ถูกจัดอยู่ในความหมายดังกล่าวนี้

ดังนั้น คำว่า “อัซ-ซุนนะฮ” จึงตรงข้ามกับคำว่า “บิดอะฮ” และ “ญะมาอะฮ” ตรงข้ามกับคำว่า “ฟิรเกาะฮ” หรือการแตกแยกออกเป็นพรรคเป็นพวก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของบรรดาหะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงความสำคัญของญะมาอะฮ และห้ามการแตกแยก

ด้วยความหมายนี้เช่นกัน ที่ท่านอับดุลฮ บินอับบาส(เราะฎิฯ)ได้กล่าวเอาใว้ในการตัฟซีรอายะฮที่ว่า…

วันซึ่งหลายๆใบหน้าจะขาวผ่อง(สดใส)และหลายๆใบหน้าจะดำคล้ำ

หมายถึงบรรดาใบหน้าของชาวอะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮจะขาวผ่องใส ในขณะที่ใบหน้าของพวกบิดอะฮ และพวกกลุ่มต่างๆที่แตกแยกนั้นจะดำคล้ำ (ดูในหนังสือตัฟซีร อิบนิกะซีรเล่ม1หน้า390และอธิบายอายะห์ที่106อาลิอิมรอน)

สำหรับความหมายโดยกว้างที่สุดแล้วของคำว่า อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ยังรวมถึงผู้ที่เป็นมุสลิมทุกคนยกเว้นพวกอัร-รอฟีเฏาะฮ (ชีอะฮ) บางครั้งพวกบิดอะฮหรือพวกปฏิบัติตามอารมณ์บางกลุ่มก็ยังถูกเรียกรวมอยู่ในอะฮลุซซุนน
ะฮด้วยเช่น ทั้งนี้เนื่องด้วยอะกีดะอบางอย่างของพวกเขาตรงกับอะฮลุซซุนนะฮ และแตกต่างออกไปจากพวกหลงผิดกลุ่มอื่นๆ แต่ความหมายเช่นนี้ถูกนำมาใช้น้อยมากในทัศนะของอุละมาอชาวอะฮลุซซุนนะฮ ทั้งนี้เพื่อจำกัดมันอยู่เฉพาะในเรื่องปัญหาทางอะกีดะอบางประการ และเพื่อให้ตรงข้ามกับพวกต่างๆ บางพวกเท่านั้น เช่น ใช้ลักษณะของชาวอะฮลุซซุนนะฮให้ตรงข้ามกับพวกเราะวาฟิฏ ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเคาะลีฟะฮ และรวมทั้งปัญหาอะกีดะอต่างๆ

“อะฮลุซซุนนะฮ” จึงตรงข้ามกับ “อะฮลุลบิดอะฮ” ซึ่งประกอบด้วย 5 จำพวกใหญ่ๆ คือ เคาะวาริจญ, เราะวาฟิฏ(ชีอะฮ), มุรญีอะฮ, เกาะดะรียะฮ และญะฮะมียะฮ

ดังนั้น “อัส-สะละฟุศศอและห์” จึงมีความหมายเช่นเดียวกับ อะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ตามนิยามของอุละมาอระดับผู้ชี้ขาดปัญหาของชาวอะฮลุซซุนนะฮเช่นกัน บ้างก็เรียกว่า อะฮลุล-อิต-ติบาอ ซึ่งชื่อเรียกต่างๆ ทั้งหมดนี้ล้วนถูกใช้อย่างกว้างขวาง จากบรรดาอุละมาอ ชาวอัส-สะลัฟทั้งหลาย

(ดูรายละเอียดได้ในหนังสือ มัฟฮูม อะฮลิซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ อินดะอะฮลิซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ของ ดร.นาศิร อับดุลกะรีม อัล-อะก็อล และหนังสือ มะอาลิมุล-อินฏิลาเกาะติลกุบรอ อินดะอะฮลิซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ ของมุฮัมมัด อับดุลฮาดี อัล-มิศรีย์ และหนังสือ เคาะศออิส อะฮลิซซุนนะฮ ของอะหมัด ฟะรีด)

ชีวประวัตินักฟื้นฟูอิสลามท่านหญิง ซัยนับ อัล ฆอซาลี


1.ประวัติทั่วไปของท่าน(التعرف بها)
ชื่อของท่าน คือ ซัยนับ มุหัมมัด อัล ฆอซาลี อัล ญะบีลี เป็นชาวอาหรับดั้งเดิมเกิดเมื่อวันที่2 เดือนมกราคม ค.ศ.1917 ในหมู่บ้านที่มีชื่อว่า"ميت يعيش" ที่เมือง الدقهلية ประเทศอียิปต์ท่านเติบโตมาในครอบครัวที่เคร่งครัดในเรื่องของอิสลาม และพ่อของท่านเป็นผู้ที่ท่องจำอัลกุรอาน และครอบครัวของท่านส่วนใหญ่ทำการค้าขาย ตระกูลพ่อของนางนั้นไปจบอยู่ที่ท่านอุมัร บิน ค้อตต็อบ ส่วนตระกูลของแม่ท่านนั้นไปบรรจบที่ท่านหะซัน บิน อะลี (ร.ด.)
ท่านได้เข้าศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง และได้ศึกษาวิชาศาสนา อัล กุรอ่าน หะดีษ และฟิกฮฺจากเชคอับดุลมาญีด อัล ลิบาน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร อัชชารีฟ,เชคมุหัมมัด สุไลมาน หัวห้าสาขาวิชาหนึ่งจากมหาวิทยาลัยอัลอัซอัรและเชคอะลี มะฮฺฟูซ และได้รับแนวคิดการศึกษาส่วนหนึ่งจาก ท่าน ซัน อัล บันนาและอุสตาสอัลหุดัยบีย์ และบุคลิกของท่านคือเป็นคนที่กล้าหาญและเฉลียวฉลาด


2.หน้าที่และงานเขียนของท่านซัยนับ อัล ฆอซาลี(زينب الغزالي و عملها ومؤلفاتها )
งานของท่าน
ท่านเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์กลางที่รวบรวมบรรดามุสลิมะห์และรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องของมุสลิมะห์ในญะมาอะห์อิควาน อัลมุสลิมูน
งานเขียนของท่าน
ท่านได้แต่งหนังสือซึ่งประกอบด้วยหนังสือ أيام من حياتي، نحو بعث جديد และ نظرات في كتاب اللهและ مشكلات الشباب والفتياتและ وتحت الطبع "أسماء الله الحسنى"และท่านได้เขียนบทความค่างๆในหนังสือ วารสารอาหรับต่างๆมากมายและท่านก็ยังเป็นตัวแทนของบรรดามุสลิมะห์ในการประชุมหรือเสวนาต่างๆที่เกี่ยวกับสิทธิ์ของบรรดามุสลิมะห์



3.ซัยนับ อัล ฆอซาลี และความเกี่ยวข้องในการเชิญชวนไปสู่ญะมาอะห์อิควาน(زينب الغزالي وصلتها بدعوة الإخوان)
ท่านได้เริ่มการสัมพันธ์กับกลุ่มอิควานในปี ฮ.ศ.1357หลังจากการก่อตั้งศูนย์รวมสำหรับผู้หญิงมุสลิมประมาณหกเดือน ด้วยการแนะนำของอิมาม อัซซาฮีด ฮะซัน อัลบันนา ประธานสาขาอิควาน อัล มุสลิมะห์ในกลุ่มญะมาอะห์อิควาน ซึ่งในช่วงแรกๆเขาได้ปฏิเสธการมีส่วนร่วมเป็นสมาชิกของอิควานมุสลิมะห์แต่ภายหลังท่านนั้นได้ร่วมมือและประสานงานกับญะมาอะฮฺเป็นอย่างดี
แต่หลังจากเหตุการณ์ในปีที่ค.ศ.1948 ได้มีการแถลงการยุบกลุ่ม”ญามาอะฮฺอิควาน”และเขาก็ส่งโทรเลขไปที่ท่านหะซัน อัล บันนาเพื่อขอความช่วยเหลือ


4.ซัยนับ อัล ฆอซาลีและการปฏิวัติอียิปต์ในปี ค.ศ. 1952 (زينب الغزالي وثورة 1952م المصرية)
ในปีนี้ได้เกิดการรัฐประหารและการปฏิวัติโดยการนำของมูฮำหมัด นุญีบซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานจนกระทั่งวันเวลาผ่านไป อับดุลนาซีรก็ได้ทำการปฏิวัติแทนมูฮำหมัดและมีการทรมานและการฆ่าผู้รู้ของศาสนาอิสลามและบรรดามุสลิม


5.ซัยนับ อัล ฆอซาลีและตำแหน่งทางการเมือง ( زينب الغزالي ومواقفها السياسية )
กิจการแรกที่ท่านซัยนับได้รับมอบหมายจากอัซซาฮีด หะซัน อัล บันนา คือเป็นสื่อกลางระหว่างกลุ่มอิควานกับ อัล นุฮาช บาชา และการขจัดความเข้าใจผิดหรือความคิดที่ชั่ว ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านได้ถูกเสนอให้เป็นสื่อกลางกับอุสตาซ อามีน คอลีล
และท่านก็ได้ปฏิเสธต่ออับดุลนาซิรผู้พิพากษาในอียิปต์ที่ต้องการจะพบเธอ และท่านได้ถูกเสนอให้ทำวารสาร ที่ชื่อว่า السيدات المسلمات และให้ค่าตอบแทนที่มากมายและให้การสนับสนุนทุนแก่มัรกัซ(ศูนย์กลาง)ในแต่ละปีเป็นเงินจำนวนมากแต่ท่านก็ปฏิเสธทุกอย่างและในวันที่6/9/1964 ได้มีการแถลงข่าวขู่การยุบมัรกัซและการหยุดพิมพ์วารสาร แต่ท่านก็ปฏิเสธและไม่สนใจกับทุกๆคำขู่ต่างๆ


6.ซัยนับ อัล ฆอซาลีและการอยู่ในเรือนจำ ( زينب الغزالي في رحاب السجون)

หลังจากที่ทราบว่ามีการเคลื่อนไหวของกลุ่มความคิดทางปัญญา(حركة الفكرية)ภายใต้การนำของท่านซัยยิด กุฏฏุบ พวกเขาจึงรายงานให้พวกซีไอเอ รัสเซีย และไซออนิสต์ และคิดที่จะทำการปฏิวัติโดยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อที่จะทำลายอิสลามและทำทุกอย่างที่ขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลาม และในช่วงต้นเดือนสิงหาคมปีค.ศ.1965 พวกเขาได้เริ่มจับกุมท่านซัยนับ อัล ฆอซาลี ในวันที่20เดือนสิงหาคม ค.ศ.1965ไปขังไว้ในคุกและยึดทรัพย์สินทั้งหมดของเธอ
ช่วงที่ท่านอยู่ในคุกนั้นท่านถูกทรมานด้วยเหล็ก ไฟฟ้าช็อต ทำร้ายร่างกายและทำร้ายศักดิ์ศรีของท่าน การทรมานด้วยแซ่ การปล่อยสุนัขป่าเข้าไป การปล่อยหนอนและหนูและแมลง การงดเว้นอาหารและเครื่องดื่ม การปล่อยน้ำเข้าไปในห้องขัง แต่ท่านก็ยังอดททนต่อการทรมานต่างๆที่ท่านประสบและท่านได้ขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา และหวังในการช่วยเหลือของอัลลอฮฺ โดยการขายตัวของนางต่ออัลอฮฺเพื่อแลกกับสวรรค์ของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน
7.การจากไปของซัยนับ อัล ฆอซาลี(وفاة زينب الغزالي)
ท่านเสียชีวิตในวันที่ 3 เดือนสิงหาคม ค.ศ.2005 โดยมีอายุ 88 ปี ศพของท่านถูกฝังที่เมืองนัศร ประเทศอียิปต์


อ้างอิง

1. ابن الهاشمي، الداعية زينب الغزالي مسيرة جهاد وحديث من الذكريات من خلال كتاباتها، دار الاعتصام، القاهرة 1989م.
2. امرأتان مؤمنتان في رحلة التحرير النسوي الجاد (زينب الغزالي، وعائشة عبد الرحمن بنت الشاطئ) شهرزاد العربي.
3. زينب الغزالي، أيام من حياتي، دار الاعتصام، القاهرة.
4. شهرزاد العربي: زينب الغزالي من البرنيطة إلى الحجاب، بيت الحكمة، منشية الصدر، القاهرة، مصر، عام 1996م.
5. http://www.ikhwanonline.com/Article.asp

เรียงเรียบและแปลโดย พิพัฒน์ นาคชูวงค์

ไสยศาสตร์ในอิสลาม

ความหมายของไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาและเลขยันต์ประกอบกับการใช้อำนาจ สมาธิ จิต การสาธยายเวทมนตร์คาถา การภาวนา และ การปลุกเสก ในทัศนะอิสลาม ไสยศาสตร์คือวิชาความรู้ที่มาจากญินและชัยฏอน เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้นลับ และมันก็มีความเร้นลับจริงๆ ในอายะห์ที่ 102 ของซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ ได้แสดงให้เห็นว่าในอิสลามก็มีการกล่าวถึงวิชาว่าด้วยไสยศาสตร์ ว่าเป็นศาสตร์ของขัยฏอน และเป็นการปฏิเสธการศรัทธา นอกจากนี้อายะห์นี้ยังบอกอีกว่า วิชาไสยศาสตร์มีมาเป็นเวลานานแล้วตั้งแต่สมัยบาบิโลน ขณะที่ในสมัยฟิรเอาว์ก็เคยมีการนำวิชาไสยศาสตร์มาต่อกรกับนะบีมูซา อะลัยฮิสลาม เช่นกัน
จุดเริ่มต้นของไสยศาสตร์
พระเจ้าตรัสไว้ในกุรอานว่า

1. และพวกเขาได้ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรดาชัยฏอนในสมัยสุลัยมานอ่านให้ฟัง และสุลัยมานไม่ได้ปฏิเสธความศรัทธา 2. แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธความศรัทธาโดยการสอนไสยศาสตร์ให้แก่ผู้คน 3. และสิ่งที่ถูกประทานมาแก่มลาอิก๊ะฮฺทั้งสองคือฮารูตและมารูต ณ เมืองบาบิล และเขาทั้งสองจะไม่สอนผู้ใดจนกว่าจะกล่าวว่า “แท้จริง เราแค่เป็นผู้ทดสอบเท่านั้น ท่านจงอย่าปฏิเสธความศรัทธาเลย” 4. แม้กระนั้น ผู้คนก็ยังศึกษาจากเขาทั้งสอง 5. ซึ่งมันได้เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกแยกระหว่างผู้ชายกับภรรยาของเขา 6. และพวกเขาไม่อาจใช้สิ่งนั้นทำอันตรายแก่ผู้ใดได้นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น 7. และพวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อพวกเขาและมิได้เป็น คุณแก่พวกเขา และแน่นอน 8. พวกเขารู้ว่าใครก็ตามที่ซื้อมันจะไม่มีส่วนแห่งความดีใดในโลกหน้าและความชั่วคือราคาที่พวกเขาขายชีวิตของพวกเขาถ้าหากพวกเขารู้” (กุรอาน อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 102)

อธิบายได้ดังนี้
1. สุลัยมานได้รับไสยศาสตร์มาจากมลาอิกะห์ หรือเทวทูตสองท่านชื่อ ฮารูตและมารูต ซึ่งสุลัยมานยังคงเป็นมุสลิม (ไม่ปฏิเสธศรัทธา)
2. ชัยฏอนก็ได้สอนไสยศาสตร์ให้แก่ผู้คน โดยที่มาจากแหล่งเดียวกันคือ เทวทูตสองท่านนั้น
3. อัลลอฮ์ให้มลาอิกะห์นำไสยศาสตร์ลงมาแก่สุลัยมาน รวมถึงคนอื่น ๆ เพื่อการทดสอบไม่ใช่การใช้งาน
4. นอกจากมลาอิกะห์สอนสุลัยมาน มลาอิกะห์สองท่านนั้นยังสอนคนอื่นอีกด้วย ไม่ใช่แค่ชัยฏอน
5. ผลของไสยศาสตร์ทำให้สามีภรรยาแตกแยกกัน
6. ไสยศาสตร์ทำอันตรายกับผู้ใดก็ได้ หากอัลลอฮ์อนุญาต
7. ไสยศาสตร์เป็นอันตรายกับตัวผู้เรียนด้วย และไม่มีคุณค่าใด
8. ราคาของไสยศาสตร์คือความความดีที่เสียไป
ไสยศาสตร์มีสองประเภทหลักๆคือ
1. ไสยศาสตร์เพื่อทำลายผู้อื่น คือการนำไสยศาสตร์มีเป้าหมาย เพื่อให้ชัยฏอนไปทำร้ายคนที่เราต้องการ เช่นการทำของตามคำสั่งของชัยฏอนด้วยการทำของ แล้วมันก็จะไปทำตามคำสั่ง อย่างเช่น อยากให้คนนั้นเลิกกับคนนี้ อยากให้คนนั้นมาเป็นของเรา (การทำเสน่ห์) ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นของที่ทำนั้นพวกนักไสยศาสตร์จะเขียนเหมือนอายะห์กุรอ่าน แต่แท้ที่จริงแล้วให้ระมัดระวังให้ดี อาจจะเป็นการเขียนข้อความบิดเบือนกุรอ่าน หรือเป็นคำที่ใช้สรรเสริญชัยฏอนก็ได้ ถึงแม้จะเป็นภาษาอาหรับก็ตาม นอกจากนี้ยังมีของที่พบเห็นเป็นส่วนมากอย่างเช่นการทำปมเชือกแล้วเป่าลงไป ซึ่งในอายะห์ที่ 4 ของซูเราะห์อัลฟะลัก มีการกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งวิธีการแก้ก็คือ ขณะที่เราจะฉีก หรือแก้ปมเชือกก็ให้เราอ่านอายะห์กุรซี และ 3 กุล (อัลอิคลาส,อัลฟะลัก,อันนาซ)
2. ไสยศาสตร์ที่ใช้ในการติดต่อญิน ญินมาเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์อย่างไร ญินคือสิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่อยู่ต่างมิติไปจากมนุษย์ แต่มิใช่มะลาอิกะห์ ญินและมนุษย์มีส่วนคล้ายกันบ้างเช่นมีปัญญารับรู้และได้รับสิทธิในการเลือกเฟ้น แต่ก็ต่างกันหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุของแต่ละฝ่าย ญินเป็นเผ่าพันธุ์ที่ถูกสร้างมาจากไฟในขณะที่มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์ที่ถูกสร้างมาจากดิน ซึ่งญินมีทั้งดีและชั่ว ญินที่ชั่วคือชัยฏอนหรือมารร้ายและหัวหน้าของชัยฏอนคืออิบลีส เนื่องจากญินถูกสร้างจากไฟ และมนุษย์มีธาตุไฟอยู่ซึ่งเป็นช่องทางทำให้มันสามารถแทรกเข้าไปในตัวคนได้ ในกรณีที่คนผู้นั้นมีความศรัทธาอ่อนแอ และเมื่อมันเข้าไปแล้วมันก็จะแสดงพฤติกรรมของมันผ่านทางตัวคนนั้น จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่เราจะเห็นผู้หญิงแก่ที่ถูกญินเข้าสามารถว่ายน้ำได้เหมือนผู้ชายร่างกายแข็งแรง หรือบางครั้งพูดภาษาต่างประเทศได้ คำว่า "ญิน" มีความหมายในเชิงปกปิดซ่อนเร้นจากสายตามนุษย์ กล่าวคือมนุษย์ไม่สามารถมองเห็น "ญิน" ได้ (หากเขามิได้จำแลงให้เห็น) อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า
"แท้จริงเขาเห็นพวกเจ้า ทั้งเขาและผู้ที่เป็นประเภทเดียวกับเขา โดยที่พวกเจ้าไม่เห็นพวกเขา" (อัลอะอ์ร๊อฟ/27)
อย่างพวกหมอดู ที่จะใช้ญินในการเอาข้อมูลต่างๆ มา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหมอดูจะใช้ญิน ให้มาถามข้อมูลจากญินที่ติดตามตัวเรา แล้วญินของหมอดูก็จะไปบอกหมอดูว่าเราเป็นใครมาจากไหน อีกทั้งยังใช้ญินเป็นเครื่องทำนายจากกุรอานที่ว่า
และแท้จริงเราได้ค้นคว้าหาข่าว ณ ชั้นฟ้า แต่เราได้พบ ณ ที่นั่งเต็มไปด้วยยามเฝ้าผู้เข้มแข็งและเปลวเพลิง
และแท้จริงเราเคยนั่ง ณ สถานที่นั่งในท้องฟ้านั้นเพื่อฟัง แต่ขณะนี้ผู้ใดนั่งฟังเขาก็จะพบเปลวเพลิงถูกเตรียมไว้สำหรับเขา (อัลญิน 8-9)
ญินได้กล่าวว่า พวกเราได้ขึ้นไปบนชั้นฟ้าเพื่อจะฟังข่าวคราว (อนาคต) จากชั้นฟ้าแต่เราได้พบ ณ ชั้นฟ้านั้นเต็มไปด้วยมะลาอิกะฮฺอย่างหนาแน่น ซึ่งทำหน้าที่เป็นยามเฝ้า และเปลวเพลิงที่กำลังลุกไหม้ ซึ่งจะใช้ขว้างขับไล่ผู้ที่พยายามเข้าไปใกล้ ซึ่งสมัยก่อนร่อซูลมุฮัมมัดเราเคยใช้เป็นที่นั่งเพื่อฟังข่าวคราวจากท้องฟ้า เพื่อนำไปแจ้งแก่นักพยากรณ์
ในคัมภีร์กุรอานและในฮะดีษบอกให้เรารู้ว่ามนุษย์บางคนก็เป็นเพื่อนกับชัยฏอน เช่น คนที่สุรุ่ยสุร่ายเป็นพวกพ้องของชัยฏอน เป็นต้น ทุกคนที่มีความสัมพันธ์กับญินจนถึงขั้นเลี้ยงไว้ใช้งานจะได้รับความทรมานและทุรนทุรายก่อนตาย หากไม่หาคนมารับมันไปเลี้ยงต่อ ญิน มีความสามารถแตกต่างจากมนุษย์ อัลกุรอ่านได้เล่าถึง "อิฟรีต" ผู้เป็นญินที่รับใช้ท่านนบีสุลัยมานว่าสามารถย้ายบัลลังก์ของ "บัลก๊อยส์"มาให้ท่านนะบีสุลัยมานได้ในพริบตา (ดูอัลกุรอ่าน บท อัลนัมลุ / 38-39) อีกทั้งสามารถจำแลงตนเป็นรูปร่างต่างๆได้ มนุษย์จึงสามารถเห็นญินได้นอกเหนือจากนี้ญินยังสามารถทำร้ายมนุษย์ได้ด้วยวิธีการต่างๆ หมอไสยศาสตร์จึงได้ใช้ญินเป็นสื่อเพื่อที่จะให้ผู้คนเชื่อว่าเขามีพลังอำนาจ สามารถล่วงรู้สิ่งต่างๆ สามารถสร้างความเจ็บป่วยหรือความสบายให้ใครๆได้ แต่หารู้ไม่ว่าเขากำลังนำพาตัวของเขาและผู้ที่หลงเชื่อตามเขาไปสู่ความหายนะทั้งโลกนี้และโลกหน้า ท่านนะบีมุฮัมหมัด เคยบอกซอฮาบะห์ว่าทุกคนมีญิน ซึ่งแม้แต่นะบีเองก็มี แต่ท่านได้สอนให้มันเข้ารับอิสลามแล้ว นอกจากนี้แล้ว การเล่นผีถ้วยแก้วก็เป็นไสยศาสตร์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวที่มุสลิมต้องระมัดระวังและห่างไกล โดยที่ในปัจจุบันมีการทำแผ่นกระดานออกมาเป็นเป็นเกมเล่นกันอย่างแพร่หลาย แม้กระทั่งในยุโรป หรือแม้แต่ในประเทศอาหรับเอง
ท่านเชคอิบนุตัยมิยะฮฺกล่าวไว้ว่า "การมีอยู่ของญินนั้นมีหลักฐานชัดเจนจากอัลกุรฺอานและอัลหะดีษและยังเป็นสิ่ งที่บรรดาอุละมาอฺ (นักวิชาการ)ในยุคก่อนๆ มีความเห็นตรงกัน และเช่นเดียวกันการเข้าครอบงำของญิน และการสิงสู่ของมันในตัวของมนุษย์นั้นก็เป็นเรื่องที่บรรดาอุละมาอฺชาวสุนนะ ฮฺทั้งหลายให้การยอมรับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน โดยผู้ที่ถูกเข้าสิงนั้นจะพูดจะทำอะไรไปโดยไม่รู้ตัว แม้กระทั่งถูกตีอย่างแรงก็ตาม"

ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อะหฺมัด อิบนุหันบัลกล่าวว่า "แท้จริงมีกลุ่มคนจำนวนมากที่อ้างว่าญินนั้นไม่สามารถเข้าสิงสู่ในตัวมนุษย์ ได้ ท่านอิมามอะหฺมัดตอบว่า โอ้ลูกรักคนเหล่านั้นพูดเรื่องโกหกแล้ว"
อิสลามว่าอย่างไรเกี่ยวกับไสยศาสตร์
ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์คาถา ถือว่าเป็นบาปใหญ่ นักกฎหมายบางท่านถือว่าเป็นชิริก หรือเป็นสิ่งที่นำไปสู่การทำชิริก และบางคนถือว่าพวกที่ใช้ไสยศาสตร์ มนตร์ดำ ควรถูกประหารเพื่อให้สังคมบริสุทธิ์จากความเลวทรามของมัน ท่านนะบี ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างเด็ดขาดว่า
จงหลีกห่างจากความเสียหาย 7 ประการ แล้วท่านก็กล่าวว่า “การตั้งภารคีต่ออัลลอฮ ไสยศาสตร์ การฆ่าชีวิตที่ต้องอัลลอฮทรงห้ามเว้นแต่ด้วยความชอบธรรม การกินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า การกินดอกเบี้ย การหนีสงคราม และการใส่ร้ายสตรีผู้ศรัทธา (มุอฺมินะฮฺ) ว่ากระทำซินา” (เศาะหีหฺ, บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ (2766. 5764) มุสลิม (89) อบูอะวานะฮฺ (1/54) และอันนะสาอีย์ (6/257) จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ)
ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้ประกาศสงครามกับคนที่อ้างว่ารู้ อดีต อนาคต และเรื่องเร้นลับต่างๆ โดยท่านอ่านโองการจากอัลกุรอานให้ฟังว่า
“จงกล่าวเถิด ไม่มีใครในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินรู้สิ่งเร้นลับ นอกจากอัลลอฮ์” (อัลนัมลฺ อายะฮฺที่ 65)


ไสยศาสตร์คือสะพานสู่การตั้งภาคีต่อ อัลลอฮ์ ทรงดำรัสไว้ในอัลกุรอ่าน ความว่า
“และจงรำลึก เมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา โดยสั่งสอนเขาว่า โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใดๆต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์โดยแน่นอน” [ลุกมาน 31:13]
เรื่องแรกที่ท่านลุกมานได้ตักเตือนบุตรของท่านคือ อย่าตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ เป็นการยืนยันว่าความผิดที่อันตรายที่สุดคือ ชิริก บางคนบอกว่าลูกฉันเป็นมุสลิมไม่มีทางทำชิริก จึงไม่ตักเตือน และคิดว่าชิริกคือการกราบไหว้รูปเจว็ดเท่านั้น แต่ที่จริงพฤติกรรมแห่งชิริกมีมากมาย เช่น การเชื่อในวัตถุ ดวงดาว หรือหลงใหลวัตถุ เป็นต้น ซึ่งการทำชิริกจะเบี่ยงเบนเราจากการเคารพสักการะต่ออัลลอฮ์ รูปแบบของชิริกที่เกิดขึ้นในหมู่มุสลิมมีมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการทำไสยศาสตร์ซึ่งมันคือรูปแบบหนึ่งของการตั้งภาคีแบบเปิดเผย อิสลามต่อต้านพวกหมอดู นักเวทย์มนต์ นักไสยศาสตร์ การเชื่อโชคลาง เนื่องจากมันเป็นเหตุไปสู่การทำชิริก(การตั้งภาคี) นอกจากอายัตอัลกุรอ่านและอัลฮะดิษที่ได้นำมาอ้างไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายอายัตและหลายฮะดิษอีกเช่นกันที่ได้ห้ามการทำไสยศาสตร์ รวมไปถึงคำกล่าวของบรรดานักวิชาการ
อำนาจแห่งมนต์ดำ เวทมนต์และไสยศาสตร์ มิได้มีพลังโดยตัวของมันเอง หากแต่อาศัยพลังของซาตานมารร้าย เวทมนต์ไสยศาสตร์ มีกล่าวในอัลกุรอ่านไว้หลายแห่งและยืนยันว่ามันมีอยู่จริง นักวิชาการซุนนะห์แบ่งมันออกเป็นสองประเภทใหญ่คือ 1. ภาพลวงตา คือเป็นแค่ภาพลวงตา เช่นการกระทำของนักมายากลทั้งหลาย 2. สอง มนต์ดำที่ทำร้ายผู้คนได้โดยอาศัยพลังของชัยฏอนมารร้าย
เวทมนต์และไสยศาสตร์ มิได้มีพลังโดยตัวของมันเองหากแต่อาศัยพลังของซาตานมารร้าย ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักไสยศาสตร์ได้ก็ต้องปฏิเสธอัลลอฮ์ และบรรดาเราะซูล(ศาสดาหรือนะบี)เสียก่อนด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่ซาตานกระซิบบอก เช่น เขียนอัลกุรอ่านด้วยเลือดสุนัข ด้วยเลือดประจำเดือนของสตรี นำอัลกุรอ่านไปทิ้งลงในที่ๆสกปรกที่สุด หรือร้องขอต่อชัยฏอน อย่างนี้เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง
หนังสือ ริสาละฮฺอัลญิน หน้า 8
หนังสือมุคตะศ็อรฺ อัลฟะตาวา อัลมิศรียะฮฺ หน้า 584
บุคอรีย์ (2766. 5764)
มุสลิม(89)
อบูอะวานะฮฺ (1/54)
อันนะสาอีย์ (6/257) และเว็บไซต์อิสลามมอร์

เรียบเรียงโดย Anas Dawor (ibnu shati-e)