Figure of speech แปลเป็นไทยว่า ภาพพจน์

Figure of speech แปลเป็นไทยว่า ภาพพจน์

หมายถึง ถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพในใจ โดยใช้กลวิธีหรือชั้นเชิงในการเรียบเรียงถ้อยคำให้มี พลังที่จะสัมผัสอารมณ์ของผู้อ่านจนเกิดความประทับใจ เกิดความเข้าใจ และเกิดอารมณ์สะเทือนใจมากกว่าถ้อยคำที่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา
วัตถุประสงค์ของการใช้ภาพพจน์

1. เป็นการใช้ถ้อยคำที่บรรยายเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังนึกเห็นภาพ และเกิดความรู้สึกซาบซึ้งดื่มด่ำกับถ้อยคำนั้น


2. เป็นการใช้ถ้อยคำในกลวิธีการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง หรือร้อยแก้วให้มีลักษณะผิดแผกแตกต่างจากการเรียบเรียงถ้อยคำตามปกติ สำหรับสร้างสรรค์วรรณกรรมกวีมีแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในการพรรณนาให้มีลักษณะพิเศษ

Figure of speech มีหลายประเภทได้แก่

1. Simile แปลว่า คำอุปมา หรือการใช้คำเพื่อการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง ที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่นร่วมกันจะใช้คำเชื่อมที่มีความหมายว่า “เหมือน” “คล้าย” “ดุจ” “เพียง” “ดั่ง“ประหนึ่ง” “ปานประหนึ่ง” “ราวกับ” อยู่ระหว่างคำหลักและคำเปรียบเทียบ วัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ในลักษณะใด เช่น •เธอว่ายน้ำเก่งเหมือนปลา •ดำดุจน้ำหมึก

2. Metaphor แปลว่า คำอุปลักษณ์ การเปรียบเทียบด้วยการกล่าวว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำแสดงคำเปรียบเทียบว่า “เป็น” หรือ “คือ” เชื่อมอยู่ระหว่างคำหลักและคำเปรียบเทียบ ความหมายจะลึกซึ้งกว่าอุปมา เพราะเป็นการใช้คำที่มีความหมายอื่นมาแทนสิ่งที่ตนต้องการติดต่อด้วย เช่น •ลูกคือดวงตาดวงใจของพ่อแม่

3. Symbol แปลว่า คำสัญลักษณ์ คือการเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คำอื่นแทน คำที่ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและการตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไป เช่น •สีขาว แทน ความบริสุทธิ์ •หงส์ แทน ผู้สูงส่ง
•สุนัขจิ้งจอก แทน คนเจ้าเล่ห์

4. Metonymy แปลว่า คำนามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือ คุณสมบัติของสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาแสดงความหมายแทนสิ่งนั้นทั้งหมด เช่น •มงกุฎ หมายถึง กษัตริย์•นักการเมืองหวงเก้าอี้ (คำว่า “เก้าอี้” หมายถึง “ตำแหน่ง”)
•ปากกาเป็นอาวุธ (ปากกาคือส่วนหนึ่งของการเขียน อาจสร้างสรรค์ หรือทำลายใครก็ได้)

5. Hyperbole แปลว่า คำอติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริงหรือคำที่เปรียบเทียบเกินกว่าจะเป็นจริงได้ ซึ่งเป็นการใช้ความรู้สึกหรือความคิดของผู้กล่าวที่ต้องการย้ำความหมายให้ผู้ฟังรู้สึกว่า หนักแน่นจริงจัง ทั้งผู้กล่าวและผู้ฟังก็เข้าใจว่ามิใช่เป็นการกล่าวเท็จแต่อย่างใด เช่น •ฉันหิวไส้จะขาด •จากคำอวยพรที่เราเคยได้ยิน(กาฟิรกล่าว)บ่อยๆว่า “ขอให้มีอายุยืนถึงหมื่นปี” •จากบทประพันธ์บางตอนที่เขียนว่า "เราจะรักกันชั่วฟ้าดินสลาย” "เขาจะตามเธอไปจนสุดหล้าฟ้าเขียว"

6. Personification แปลว่า คำบุคลาธิษฐาน หรือบุคคลวัต
คือเป็นการเปรียบเทียบที่นำเอาความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ลักษณะกิริยาและอาการของมนุษย์ ไปใส่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิตหรือสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ให้ดูเหมือนสรรพสิ่งเหล่านั้นแสดงความรู้สึกนึกคิดและอากัปกริยาต่างได้เหมือนมนุษย์ เป็นการเขียนที่มุ่งหมายจะสร้างเรื่องราวธรรมดาให้น่าสนใจมีชีวิตชีวา และสามารถเร้าอารมณ์ได้ เช่น
•ทะเลไม่เคยหลับ •ท้องฟ้าร่ำไห้ •ใบไม้เต้นระบำ

7. Paradox แปลว่า “ปฏิทรรศน์” “ปฏิพากย์” “ปฏิภาคพจน์”
คือ การใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่มีความหมาย ตรงข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าวเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความหมายที่ชัดเจน หรือเป็นการนำคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมาวางไว้ใกล้กัน ดูกันอย่างผิวเผินแล้ว จะขัดกันเองหรือไม่น่าเป็นไปได้ แต่ถ้าพิจารณาลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าเป็นไปได้ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น
• ไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ตัวเองต่ำลงได้เท่ากับวิธียกตัวเองขึ้นมา • เพราะถิ่นนี้มีฟ้ากว้างกว่ากว้าง
มีความมืดที่เวิ้งว้างสว่างไสว เป็นแดนเถื่อนแต่เป็นที่ไม่มีภัย อยู่ห่างไกลแต่ใกล้คุณธรรม

8.Onomatopoeia แปลว่า คำสัทพจน์ หมายถึง คำบรรยายเสียงหรือคำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ
การใช้คำประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ เหมือนซาวน์เอฟเฟคนั่นเอง เช่น
•เสียงน้ำตกกระทบหินไหลดังฉาดฉาน
•เสียงคลื่นซัดฝั่งเสียงซ่า ซ่า ทั้งคืน
•เสียงนกยูงร้องโฮกป๊ก โฮกป๊ก
•เสียงระฆังดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว

9.Oxymoron แปลว่า คำปฏิพจน์ คือ การใช้คำที่ไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีความหมายหรือความรู้สึกที่ขัดแย้ง หรือเพิ่มน้ำหนักให้แก่ความหมายของคำแรก เช่น •ชัยชนะของผู้แพ้

ข้อแตกต่างระหว่างคำปฏิพจน์และปฏิทรรศน์:
1. ปฏิพจน์เป็นลักษณะการสร้างคำหรือวลีที่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งของความหมาย (contradiction in terms)
2. สิ่งที่ทำให้ปฏิพจน์แตกต่างจากปฏิทรรศน์และความหมายขัดแย้ง (contradiction) คือตรงที่ปฏิพจน์เป็นการใช้อย่างจงใจเพื่อเพิ่มความรู้สึกหรือเห็นภาพพจน์ในวาทศิลป์โดยการสร้างความหมายใหม่โดยการผสมคำที่ตรงข้ามกัน เช่น
• ประมาณแน่นอน (accurate estimate) • ของปลอมแท้ (genuine fake) • ขยะดี (good garbage)


10. Rhetorical question แปลว่า คำถามเชิงวาทศิลป์
เป็นการตั้งคำถามแต่มิได้หวังคำตอบ หรือ ถ้าเป็นคำตอบก็เป็นคำตอบที่ทั้งผู้ถามและผู้ตอบ รู้ดีอยู่แล้ว ซึ่งใช้คำถามวาทศิลป์เพื่อเร้าอารมณ์ผู้อ่านหรือสื่อความหมาย และข้อคิดที่ต้องการแต่ถามเพื่อเรียกร้องความสนใจหรือกระตุ้นให้คิดเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น
เช่น • เราจะยอมให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงต่อไปอีกหรือ?
• การที่เรายอมหลับตาเชื่อข้อความที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ โดยมิได้พิจารณาดู ความมุ่งหมายและความปรารถนาของผู้แต่งเสียก่อนนั้น จะไม่เป็นการดูหมิ่นสติปัญญาของเราเองอยู่หรือ?


11. Irony แปลว่า การแฝงนัย เป็นการพูดกระทบกระเทือน, การเขียนที่กล่าวเสียดสี, ถ้อยคำเย้ยหยัน, หรือถ้อยคำแดกดัน ความคิดที่จะเจตนาสื่อสารนั้นแตกต่างหรือตรงกันข้ามกับความหมายตามตัวอักษรของคำที่ใช้ หรือใช้คำที่เป็นการขัดกันระหว่างความเป็นจริงกับสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เช่น การบรรยายความทุกข์กับความสุขที่คละเคล้ากันในชีวิตว่า
“โลกโศกเศร้า...แต่พวกเขายังยิ้ม” “เจ็บปวด...แต่ไม่รวดร้าว และขื่นขม...แต่ว่าไม่ขมขื่น”


12. Denotation: แปลว่า "ความหมายตรง" หมายถึงความหมายตรงตามตัวอักษรหรือภาพ ความหมายตรงตัวตามสิ่งที่เห็นได้ทันที เช่น การหาความหมายของคำ ที่ปรากฏในพจนานุกรมถือว่าเป็น denotation หรือความหมายระดับที่หนึ่ง


13. Connotation แปลว่า "ความหมายโดยนัย" หรือ "ความหมายแฝง" หมายถึงความหมายในเชิงภาพหรืออุปมาอุปมัย เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์หรือความคิดเห็นที่ยึดถือมานาน และความสัมพันธ์ตามขนบธรรมเนียมที่เพิ่มพูนขึ้นของคำ และภาพนั้นต่างๆ ตรงข้ามกับความหมายตามตัวอักษรหรือการบ่งชี้ตรงๆของพวกมันความหมายโดยนัยนอกเหนือจากความหมายโดยตรง ไม่ปรากฎชัดเจนหากขาดข้อมูลเชิงวัฒนธรรมที่จำเป็นต่อการตีความ เป็นความหมายระดับที่สอง


14. Myth หรือ "มายาคติ" เป็นสัญญะที่ตอกย้ำถึงแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง โดยทำให้แนวคิดนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่แปลก ใครๆ ก็ทำกัน ทั้งๆ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในสังคม ไม่เคยเป็นเรื่องธรรมชาติ หากแต่เป็นเรื่องสมมุติโดยกลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งๆ ทั้งสิ้น นี่เป็นความหมายระดับสุดท้าย


15. Imagery แปลว่า ภาพในความนึกคิด (mental image), มโนภาพ, จินตนาการ หรือ จินตภาพ
หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นในใจ หรือข้อคิดเห็นที่เกิดขึ้น เมื่ออ่านบทประพันธ์ร้อยกรองบทหนึ่งๆ หรืออ่านงานเขียนชิ้นหนึ่งๆ เช่น เราสามารถสร้างจินตภาพของป่าหิมพานต์ กินรี (สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง) จากวรรณคดีได้ด้วยการอ่านคำบรรยายของกวี
ส่วนคำว่า "มโนภาพ" มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "จินตภาพ" แต่มโนภาพเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป ในขณะที่จินตภาพเป็นศัพท์บัญญัติทางวิชาวรรณคดี


16. Reduplication แปลว่า การซ้ำคำเป็นการนำคำที่มีเสียงเหมือนกันอาจมี ความหมายเหมือนกันหรือต่างกันมาไว้ใกล้กันเพื่อเน้นย้ำให้ได้ความหมายที่ชัดเจนหนักแน่นขึ้น ตัวอย่างเช่น
เหลืองแดงแหล่งประชาธิปไตย คือมหาวิทยาลัยของคนกล้า กล้าคิดกล้าพิสูจน์กล้าพูดจา กล้าประจันฟันฝ่าท้าอธรรม

17. Alliteration แปลว่า การเล่นเสียง เป็นการเลือกใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะหรือสระเหมือนกันเพื่อให้เกิดภาพ เกิดความรู้สึก ตลอดจนความไพเราะของเสียงสัมผัส หรืออาจเรียกว่า "การสัมผัสอักษร" ที่ใช้การสัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น
1. จําใจจําจากเจ้า จําจร (ลิลิตตะเลงพ่าย)
2. กระเทือนกระแทกร่างกระทั่งรุ่ง กระโจนฝุ่นกระจายฟุ้งกระเจิงฝอย จากฟางป่วนจากฝุ่นเปรอะจนฝนปรอย กันดารดอยเมืองกาญจน์มาเดียวกรุง
( ที่มา :ตากรุ้งเรืองโพยม : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
Alliteration is the repetition of initial consonant sounds of neighboring words.
เช่น Sally sells seashells by the seashore. “ She left the Heaven of Heroes and came down
To make a man to meet the mortal need, A man to match the mountains and the sea,
The friendly welcome of the wayside well. ” From “Lincoln, the Man of the People” ~Edwin Markham~

18. Antanaclasis แปลว่า การเล่นคำ โดยการซ้ำคำที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันสองความรู้สึก หรือการใช้คำคำเดียวในความหมายต่างกัน เพื่อทำให้รสชาติของการพรรณนาไพเราะน่าอ่านยิ่งขึ้น บางครั้งจะช่วยสร้างอารมณ์ขัน บันเทิงใจแก่ผู้อ่าน เช่น
ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลี้ยวลางลิง

(ที่มา: ลิลิตพระลอ )

Smiling

Al –salaamu ‘alaykum warahmatu allaahi wabarakatuh
The praises and the thanks is to be Allaah,the lord of universe and upon the prophet Muhammad , his family and his companions be peace and god’ mercy.
Dear my beloved friend
First of all, I really thank to Allaah that let me write this letter to you. Actually, I would love to say to you that you are the one of my beloved friends. We are as classmate and every day we have to meet each other. As we see that you are always sad, we think of you. We worry about the thing that happen to you and what make you suffocate because all the days, your face seems to be sad. Friend, life is beautiful, so brighten your day with your sweet smile. You can change the world with your smile. When we are suffering something bad, a little as you can do is to smile. Friend, all you problems and obstacle will be better ’insha’a Allaah.
As you and I are Muslim, the little things that we can do to aim relationship between us is greeting and smiling. Allaah says: When you are greeted with a greeting, greet in return with what is better than it, or (at least) return it equally. Certainly, Allah is Ever a Careful Account Taker of all things (An-Nisa, Chapter 4, Verse86,Mohsin Khan). I do believe that you can do it.
Smiling is beauty, isn’t it? We always hear that a little thing like smile can solute any problems. Smile is a small thing but it is hard of many people to do it. Smile is contact disease actually and there are wisdoms behind it.
Smile is charity as we are Muslim. If you give us a smile, means you are donating, friend. The Prophet Muhammad (peace be upon him) said: "Charity is prescribed for each descendant of Adam every day the sun rises." He was then asked: "From what do we give charity every day?" The Prophet answered: "The doors of goodness are many...enjoining good, forbidding evil, removing harm from the road, listening to the deaf, leading the blind, guiding one to the object of his need, hurrying with the strength of one's legs to one in sorrow who is asking for help, and supporting the feeble with the strength of one's arms--all of these are charity prescribed for you." He also said: "Your smile for your brother is charity." – Fiqhu As-Sunnah, Volume 3, Number 98.
Friend, your smile and cheerful face can increase and fulfill our brotherhood. Actually, the meanings behind of smile are sincere, happy and so on. If you smile to us, we can feel that you are sincere and happy to talk to each other. The Prophet Muhammad (peace be upon him) said: “Do not abuse anyone…Do not look down upon any good work, and when you speak to your brother, show him a cheerful face. ” - Sunan of Aboo-Daawod, Hadeeth 1889
Therefore, could you give your sweet smile to us please? Our relationship will be fulfilled with your smile, friend. We have already to give your sincere small from our hearts back. That why a smile is called contact disease. Your little smile and cheerful can make us happy, so I hope that you will always give a sweet smile to us Insha’a Allaah. May Allaah protects and blesses you.
The praises and the thanks is to be Allaah,the lord of universe.

Wa alsalaamu ‘alaykum.
Anas Dawor