ราชวงค์บนีอุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮฺ และ สาเหตุการล่มสลาย

ราชวงค์บนีอุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮฺ และ สาเหตุการล่มสลาย
ยุคราชวงค์ อุมัยยะฮฺ ฮ.ศ.41-132(ค.ศ.661-750)
มุอาวียะฮฺ ฮ.ศ. 41-60 (ผู้แรกที่จัดตั้งกองทัพเรือในอิสลาม)
ยะซีด บิน มุอาวียะฮฺ ฮ.ศ.60-64
อับดุลเลาะฮฺ บิน ซุเบร ฮ.ศ.64-73
อับดุลมาลิก บิน มัรวาน ฮ.ศ. 65-86
วะลีด บิน อับดุลมาลิก ฮ.ศ. 86-96
สุไลมาน บิน อับดุลมาลิก ฮ.ศ. 96-99 (ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า กุญแจแห่งความดี)
อุมัร บิน อับดุลอาซิซ ฮ.ศ. 99-101 (ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า คอลีเฟาะฮฺคนที่ห้าในอิสลาม)
ยะซีด ซานี บิน อับดุลมาลิก (ยะซีดที่2) ฮ.ศ. 101-105 (ผู้ที่ต้องการทำตาม อุมัร บิน อับดุลอาซิซ)
ฮิชาม บิน อับดุลมาลิก ฮ.ศ. 105-125
วะลีด ซานี บิน ยะซีด (วะลีดที่ 2) ฮ.ศ. 125-126 (ผู้ซึ่งชอบดื่มเหล้า และหลงใหลในบทกวี)
ยะซีด ที่ 3 ฮ.ศ. 126 (ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า ผุ้ไร้ซึ่งความสามารถ)
อิบรอฮีม บิน วะลีด ฮ.ศ. 126-127
มัรวานที่ 2 ฮ.ศ. 127-132 (ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า เจ้าลา)
สาเหตุบางประการของการล่มสลายของของราชวงค์บนีอุมัยยัฮฺ
1. การเติบโตของระบบกษัตริย์แทนที่ระบบคอลีเฟาะฮฺ
2. การไม่เคารพผู้นำทำให้เกิดฟิตนะฮฺความวุ่นวายขึ้น
3. การแตกแยกและความคิดสุดโต่งในหมู่มุสลิม
4. การลอกเลียนสิ่งที่เสียของวัตนธรรมอื่นๆ
5. มิชาฐิติในชาติตระกูลและเผ่าพันธุ์
6. การขายการขาดการวางแผนในระยะยาว


ความเจริญในสมัยราชวงค์อุมัยยะฮฺ
1. มีการการรจัดระเบียบกองคลังสาธารณะ
2. มีการจัดตั้งกรมตำรวงและให้อำนาจแก่กฎหมาย
3. มีการจัดรวมกองทัพบท
4. มีการใช้เหรียญกษาปณ์
5. มีการจัดตั้งกองทัพเรือและอุตสาหกรรมการต่อเรือที่ยิ่งใหญ่
6. ความเจริญทางด้านศิลปะวิชาการ มีการแปลงานหนังสือวิชาการต่างๆ


ยุคราชวงค์ อับบาซียะฮ.ศ. 132-656(ค.ศ.750-1258)
คอลีเฟาะฮฺที่เด่ดๆในสมัย อับบาซียะฮ์
อบู อับบาส อัศ ศ็อฟฟะฮฺ
มุฮัมหมัด มะฮฺดี (ผู้ซึ่งใช้เงินในคลังจนหมด)
ฮารุน อัรเราะซีด (ยุคทองของราชวงค์อับบาซียะฮฺ)
มุฮัมหมัด อามีน บิน ฮารูน (วังของเขาเต็มไปด้วย ผู้หญิง สวนสัตว์ที่มีสัตว์ต่างๆทั่วทุกมุมโลก และขันทีตัวตลก)
มะมูน อัลเราะซีด(ยุคทองในทุกๆด้านของราชวงค์อับบาซียะฮฺ)
มุตะซิมบิลลาฮฺ (ผู้ซึ่งได้ฉายาว่า คอลีเฟาะฮฺ ทหาร)
มุตะวักกัลอะลัลลาฮฺ (ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า ผู้พิทักษ์ซุนนะฮฺ และ เป็นยุคแห่งความสำราญ)
สาเหตุบางประการของความตกต่ำของราชวงค์อับบาซียะฮฺ
1. การแบกแยกระหว่างชาวอาหรับกับคนที่ไม่ไช่อาหรับ
2. การขัดแย้งระหว่างซุนนีและชีอะฮฺ
3. การถกเถียงในเรื่องที่ไร้สาระและการดูหมิ่นผู้รู้ศาสนา
4. การเลียนแบบที่ไม่ไช่อิสลาม
5. การให้ความสำคัญกับเรื่องหรูหราและอลังการ

ความผิดพลาดและความล้มเหลวอื่นๆ
1. การคิดที่จะแก้แค้นศัตรูและฝ่ายตรงข้ามของตน
2. การรักสิ่งหรูหราและไม่ชอบทำงานหนัก
3. การนำทรัพยากรของรัฐไปใช้อย่างสุรุยสุรายในเรื่องส่วนตัว
ความรุ่งเรืองในสมัยราชวงค์อับบาซียะฮฺ ยุคต้นของราชวงค์อับบาซียะฮฺเป็นยุคแห่งความรุ่งโรจน์ในประวัติศาสตร์อิสลาม ความจริงแล้วมันเป็นยุคสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษยชาติด้วยซ้ำ เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ศิลปะ วิทยาศาสตร์ อารธรรม การค้าและอุตสาหกรรม มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ด้วยความรุ่งเรืองดังกล่าว เมืองแบกแดดจึง เป็นเมืองที่มีความมมั่งคั่งอบังการโออ่าท่สุดของโลกในสมัยนั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมกระดาษที่ไม่เคยมีมาก่อนอย่างเดียวก็ถือว่ายุคอับบาซียะฮฺได้มีส่วนสำคัญที่สุดต่อการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางด้าน วิทยาศาสตร์ และอารยธรรมของโลก แม้แต่ผู้ที่ไม่ไช่มุสลิมก็ยังได้รับประโยชน์อีกมากมายจากความเจริญก้าวหน้านี้

สรุปโดย Anas Dawor (ibnu sha-ti-E) อ้างอิงจากหนังสือ History of Islam,Dr. Abdul Rauf

เรื่องราวของการหลงรัก, ทัศนะของ เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ

เรื่องราวของการหลงรัก, ถ้าหากผู้หญิงคนหนึ่งรักผู้ชายคนหนึ่งอย่างห่างๆเธอจะบาปไหม
คำตอบ อัลฮัมดุลิลอฮฺ
อิสลามได้ปิดประตูในการนำไปสู่ความชั่วและสกัดกั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่อาจจะนำไปสู่ความชั่ว ความรักและความหลงไหลในตัณหาคือ หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุด
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลลอฮฺ) ได้กล่าวว่า ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/129
“ความรัก คือ โรคทางด้านจิตใจชนิดหนึ่ง ถ้าหากมันเติบโตขึ้นก็จะส่งผลกระทบและกลายเป็นโรคทางด้านร่างกายในที่สุด ทั้งการเจ็บไข้ได้ป่วยและความคิดที่ผิดๆ โรคเหล่านี้เป็นสาเหตุมาจาก วัสวาสะ(การกระซิบกระซากของซัยตอน) ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และ ซูบผอม”
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/132
“ความรักที่มีต่อหญิงที่ไม่ไช่มัฮรอมนั้นจะนำไปสู่ผลเสียอย่างมากมายเพราะขอบเขตของความรักทั้งหมดเพียงเพื่ออัลลอฮฺเท่านั้น ฉะนั้นมันจะส่งผลกระทบต่อความรับผิดชอบในการรับใช้ศาสนา หลังจากนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายของเขา แค่หนึ่งผลกระทบของการรักเพศตรงข้ามก็เพียงพอแล้วที่แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเป็นบ่าวของจิตใจ ไม่สามารถห่างเหินจากคนที่เรารักได้ ดังนั้น ความรักคือประตูไปสู่การลดเกียรและการยอมรับใช้”
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/185
“หากชายคนหนึ่งหลงรักผู้หญิงคนหนึ่งและถึงแม้ว่านางจะตกลงปลงใจ แต่หัวใจของหัวเขาก็ยังคงตกเป็นบ่าวของนางอยู่ดี นางสามารถสั่งให้เขาทำอะไรก็ได้ตามที่ใจต้องการ ทั่งๆที่เขาดูเหมือนว่าจะเป็นนายของนาง แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาก็คือผู้ต้องขังหรือบ่าวที่จงรักภักดีนั้นเองดีนั้นเอง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตระหนักถึงความรักความต้องการของเขาที่มีต่อนาง นางสามารถบังคับเขาเสมือนผู้เป็นนายบังคับบ่าวผู้ซึ่งไม่สามารถหนีจากผู้เป็นนายได้ มิหนำซ้ำอาจมากกว่านั้นก็เป็นได้ เพราะการเป็นบ่าวของหัวใจมันเลวร้ายมากกว่าเป็นบ่าวของร่างกาย”
ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่มีต่อเพศตรงข้ามจะไม่เกิดขึ้นในหัวใจที่เต็มไปด้วยความรักที่มีต่ออัลลอฮ นอกเสียจากหัวใจที่อ่อนแอและว่างเปล่า
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/135
“ถ้าหากหัวใจมีแต่อัลลอฮเพียงองค์เดียวและให้ความสำคัญต่อพระองค์ เราก็ไม่คิดที่จะรักใครเป็นอับดับแรกและก็จะไม่ไปตกหลุมรักใคร เมือใดที่หัวใจไปตกหลุมรักใครก็แสดงว่าความรักของเราที่มีต่ออัลลอฮยังน้อยอยู่ ดังเช่น ท่านนบียูโซฟรักอัลลอฮและทำตามอัลลอฮทุกอย่างท่านจึงไม่ตกหลุมรักใคร
บทลงโทษของความรัก อัลลอฮได้กล่าวว่า(ซูเราะฮฺยูซุฟ 12:24)
{كَذَلِكَ لِنَصْرِفَ عَنْهُ السُّوءَ وَالْفَحْشَاء إِنَّهُ مِنْ عِبَادِنَا الْمُخْلَصِينَ}
เช่นนั้นแหละเพื่อเราจะให้ความชั่วและการลามห่างไกลจากเขา แท้จริงเขาคือคนหนึ่งในปวงบ่าวของเราที่สุจริต
มุสลิมต้องรักษาและป้องกันตัวของเขาจากบรรดาสิ่งที่จะสิ่งผลกระทบในทางที่ไม่ดี ไม่นำตัวเองไปสู่สิ่งนั้น และอย่าล้มเหลวในการต่อต้านมัน ถ้าหากเขาล้มเหลวในการต่อต้านอารมณ์ความรักที่ผิดๆ สิ่งที่ตามก็คือการทำสิ่งที่ฮารอมฟังของที่ฮารอมและไม่สนใจว่าขอบเขตของการพูดคุยกับเพศตรงข้ามมีว่าอย่างไร ทั้งหมดนั้นเป็นผลกระทบของความรักที่เขาต้องเจอ สุดท้ายเขาก็จะถูกลงโทษจากการกระทำของเขา
หลายต่อหลายคนละเลยในจุดเริ่มต้นของปัญหาแล้วก็คิดว่า พวกเขาสามารถที่จะแก้ไขมันได้เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาต้องการ หรือ พวกเขาสามารถที่จะหยุดมันให้อยู่ในขอบเขตไม่ให้มันลุกลาม จนกระทั่งโรคร้ายรุนแรงขึ้นและไม่สามารถรักษาได้
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลลอฮฺ) ได้กล่าวว่า เราดะฮฺ อัลมูฮีบบีน/ 147
“ถ้าหากผลของการกระทำเกิดขึ้นจากสาเหตุที่เขาเลือก ไม่มีเหตุผลที่เขาจะอ้างว่ามันอยู่นอกเหนือการควบคุมของเขาถ้าเหตุผลนั้นมันฮารอม เช่นเดียวกับ คนที่ดืมเหล้าก็ไม่มีเหตุผลที่จะอ้างว่าเขาสามารถดื่มเหล้าได้ ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการมองคนๆหนึ่งแล้วเราก็ยังคิดเกี่ยวกับเรื่องราวคนๆนั้นเปรียบเสมือน เหตุผลของคนที่ดื่มเหล้า เราก็จะเป็นสาเหตุในเรื่องดังกล่าว”

ถ้าหากเราหลีกหนีจากสิ่งที่จะนำไปสู่โรคร้ายโดยการลดละสายตาไม่มองไม่ฟังในสิ่งที่ฮารอมและป้องกันไม่ให้ความคิดของไซตอนผ่านเข้ามาในจิตใจสิ่งทีไม่ดีก็จะไม่เกิดขึ้น การชำเหลือบมองถือว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่ยอมรับได้และถ้าหากจิตใจของเขายังคงผูกมัดกับผู้หญิงคนนั้น เขาก็จะไม่มีความผิดอินซาอัลลอฮ เพราะอัลลอฮได้กล่าวไว้
{لاَ يُكَلِّفُ اللّهُ نَفْساً إِلاَّ وُسْعَهَا}

เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/10
“ถ้าหากผลของการกระทำไม่ได้มาจากสาเหตุของการละเลย สำหรับเขาแล้วก็จะไม่มีมีความผิดในเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเขา”

เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลลอฮฺ) ได้กล่าวว่า เราดะฮฺ อัลมูฮีบบีน 147
ถ้าหากความรักเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความชอบธรรมไม่เป็นสิ่งฮารอม เชกเช่น คนหนึ่งรักภรรยาหรือทาสหญิงหลังจากนั้นเธอก็ได้จากไป แต่ความรักที่มีต่อนางยังคงมีอยู่เขาจะไม่มีความผิดจากเรื่องนั้น คล้ายคลึงกับเหตุการณ์การชำเลืองมองโดยไม่ได้ตั้งใจจากนั้นเขาก็เบนสายตาหนีแต่เขาก็ได้ตกหลุมรักจนหมดใจ อย่างไรก็ตามเขาต้องขจัดความรู้สึกนั้นออกไป

และเขาต้องรักษาหัวใจของเขาโดยการหยุดความรู้สึกที่เกิดขึ้นและการรักอัลลอฮฺให้มากขึ้นขอดุอาร์ในความช่วยเหลือจากพระองค์ อย่าอายที่จะปรึกษาผู้รู้และคนที่ไว้วางใจในการรับข้อชี้แนะ หรือ ปรึกษาแพทย์และนักจิตวิทยา เพราะเขาอาจจะได้รับการเยียวยาที่ดี เขาต้องอดทน ทำอามาลให้มาก ไม่เข้าไกล้การซีนา สงบเสงี่ยม อัลลอฮฺก็จะทวีผลบุญให้แก่เขา อินชาอัลลอฮฺ
เชค อัลอิสลาม อิบนู ตัยมียะฮฺ (รอฮีมาฮูลอฮฺ) ได้กล่าวว่า ในมัจมูอ อัล ฟัตวา 10/133:
“ถ้าเขาถูกทดสอบด้วยความรักแต่เขารักษาความบริสุทธิและอดทน เขาจะได้รับผลบุญจากการเกรงกลัวอัลลอฮฺ จากหลักฐาน ชารอี ที่ว่า ถ้าคนหนึ่งรักษาความบริสุทธิของเขาและหลีกเลี่ยงในการทำสิ่งที่ฮารอมจากการมอง การพูด และการกระทำ เขาเงียบและไม่คุยในสิ่งเหล่านั้น มันเป็นสิ่งที่ฮารอมทีจะพูดในเรื่องดังกล่าวแม้กระทั่งการกล่าวหาคนอื่น หรือ การไล่ตามคนที่ตนหลงรักในทุกวิธีทาง เขาอดทนในการเชื่อฟังอัลลอฮฺและหลีกเลี่ยงในการกระทำบาป ถึงอย่างไรก็ตามความเจ็บปวดที่ได้มาจากความรักมันเป็นเพียงหนึ่งสิ่งที่ทำให้รู้สึกทรมาน แต่เขาก็จะเป็นคนในผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮฺและผู้เป็นบ่าวที่มีความอดทน
{إِنَّهُ مَن يَتَّقِ وَيِصْبِرْ فَإِنَّ اللّهَ لاَ يُضِيعُ أَجْرَ الْمُحْسِنِينَ}

วัลลอฮฺ อะลัม
แปลและเรีบยเรียงโดย Anas Dawor (Ibnu sha-ti-E)
Ref: Islamway.com